จองทัวร์ด่านสิงขร บ้านมูด่อง ไทยพลัดถิ่นสิงขร ตะนาวศรี มะริด ประเทศพม่า ด่านบ้านพุน้ำร้อน-ทวาย เมืองมะริด ทวาย Land operator Myanmar โทร 098-0641749 มะริด mjeɪ มเยะ หรือ beɪ เบะ มอญ ภาษาอังกฤษ: Myeik
ประวัติการเสียดินแดนใน อดีต
- เมืองเอก ทวาย
- พื้นที่ 16,735.5 ตารางกิโลเมตร
- ประชากร 1.2 ล้านคน
- ความหนาแน่น 64 คน/ตารางกิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดรัฐมอญ สหภาพพม่า
- ทิศใต้ ติดทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันออก ติด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ของราชอาณาจักรไทย
- ทิศตะวันตก ติด ทะเลอันดามัน
- อำเภอทวาย (Dawei / Tavoy) หรือดะแว
- อำเภอมะริด (Mergui / Myeik) หรือมเยะ
- อำเภอเกาะสอง (Kawthaung / Victoria Point) หรือเกาะตอง/วิกตอเรียพอยต์
- ภาษา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่า ส่วนทางใต้จะมีกลุ่มคนพูดภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายู
- ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ และมีศาสนาอิสลามอีกจำนวนหนึ่ง
- ลุจา (Lukya) ที่มะริด
- ลอบบาตร ที่ทวาย
- ฝังไห ที่เมืองเย (Ye)
- แห่พระเจ้า 28 องค์ ที่ ทวาย มะริด และปะลอ Palaw...............................................................................
- 16 มกราคม พ.ศ. 2336 ไทยเสียเมือง มะริด ทวาย และ ตะนาวศรี ให้แก่พม่า หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษและรัฐไทยได้ทำสนธิสัญญา กำหนดเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ส่งผลให้คนไทยประมาณ 30,000 คนในขณะนั้น กลายเป็นบุคคลที่สูญเสียสัญชาติ ไปพร้อมกับการเสียพื้นที่ไปประมาณ 55,000 ตารางกิโลเมตร แต่รัฐบาลพม่าเองก็ไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นคนพม่า จึงถูกกดขี่ข่มแหง ถูกละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงไม่ต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ล่าสุดเมื่อปลายปี 2549 คนไทยกว่า 3,000 คนได้หลบหนีเข้ามาพึ่งแผ่นดินไทยบริเวณจังหวัดระนอง-ชุมพร แต่เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประชาชน จึงต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ถูกข่มขู่รีดไถ ถูกกด-โกงค่าแรงเหมือนแรงงานพม่า โดยที่ไม่มีสิทธิแจ้งความ และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2549 ตัวแทนคนไทยกลุ่มนี้ก็ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลอังกฤษ ผ่านเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ให้รับผิดชอบเรื่องสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้
เปิดโลกกว้าง ทะเลอันดามัน หมู่เกาะมะริด ประเทศพม่า เมือง 800 เกาะ สวรรค์ของนักดำน้ำ ไปกับเรา SunitJo Travel ชมเกาะมอร์แกนชนเผ่าชาวเลดั้งเดิม เกาะน้ำตกสวรรค์กลางทะเล เกาะเวอร์จิ้น Full Day Trip
โปรแกรมใหม่ ทัวร์หมู่เกาะมะริด 3 วัน 2 คืน ราคา 9500 บาทต่อท่าน โปรแกรมทัวร์ตามปกติ
ตัดโปรแกรมวันที่2 เพิ่มเที่ยวทะเล เกาะมะริด
ทัวร์หมู่เกาะมะริด 4 วัน 3 คืน 11900 บาทต่อท่าน โปรแกรมทัวร์ตามปกติ เพื่มเที่ยวเกาะแบบ
เต็มวัน 1 วัน
TANINTHARYI ตะนาวศรีคนพม่าเรียกเมืองนี้ว่า ‘ตะหนิ่นต่าหยี่’ ตะนาวศรีเป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ชิดติดแม่น้ำตะนาวศรี แม่น้ำสายนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนพม่าตอนใต้ ซึ่งไหลผ่านเมืองทวาย ตะนาวศรี และลงสู่ทะเลอันดามันที่เมืองมะริด สมัยก่อนเมืองตะนาวศรีมีความสำคัญทางด้านการค้าขายเป็นอย่างมาก สินค้าจากอินเดียและยุโรปจะถูกส่งมาที่นี่เพื่อส่งต่อไปขายยังสยามประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ ตะนาวศรีเป็นแค่หนึ่งในสี่อำเภอของจังหวัดมะริดเท่านั้น เสน่ห์ของเมืองตะนาวศรีที่เราค้นพบคือความเงียบสงบริมฝั่งน้ำ ความงดงามของอาคารบ้านเรือนหลังเก่าที่ตั้งชิดติดกันเป็นแนวยาว บรรยากาศมีกลิ่นอายของเชียงคานอยู่บ้างเล็กน้อย สำหรับพวกเราแล้ว วิธีการเที่ยวเมืองนี้ก็คือการเดิน...เริ่มจากตลาดริมแม่น้ำสู่ศาลหลักเมืองพะอาวซา ผู้สละชีวิตเฝ้าหลักเมืองผ่านพิธีฝังอาถรรพ์ ด้านหลังเสาหลักเมืองเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ เดินเข้าไปถ่ายรูปเด็กนักเรียนตัวน้อยทาแป้งทะน่าคาก็เป็นความทรงจำที่ควรค่าจะเก็บไว้ระหว่างการเดินทางอยู่ในพม่าตอนใต้ หรือไปนั่งรับลมเย็นๆ อยู่ตรงร้านอาหารติดแม่น้ำตะนาวศรีพร้อมจิบชานมร้อนแบบพม่าหรือละพะเหย่แล้วถ่ายรูปวิถีชีวิตชาวบ้าน การขึ้นเรือข้ามฟาก ก็สร้างความเบิกบานใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว...
ตะนาวศรีเมืองเก่าริมน้ำสงบ จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายอยู่กับลมหายใจตัวเอง...
สมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะยุทธหัตถีแล้ว ทรงโทมนัสน้อยพระหฤทัยที่ไม่สามารถจะตีข้าศึก ให้แตกยับเยินไปได้เหมือนครั้งก่อน เพราะเหตุที่กองทัพเจ้าพระยา ข้าราชการไม่ตามเสด็จไปให้ทันรบพุ่งพร้อมกัน เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระนครจึงดำรัสสั่งให้ลูกขุนประชุมปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองตามพระอัยการศึก ลูกขุนปรึกษาวางบทว่า พระยาศรีไสยณรงค์มีความผิดฐานบังอาจฝ่าฝืนพระราชโองการไปรบพุ่งข้าศึกโดยพลการจนเสียทัพแตกมา และเจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาเทพอรชุน พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง มีความผิดฐานละเลยมิได้ตามเสด็จไปให้ทันท่วงทีการพระราชสงคราม โทษถึงประหารชีวิตด้วยกันทั้งนั้น จึงดำรัสสั่งให้เอาตัวข้าราชการเหล่านั้นไปจำตรุไว้พอพ้นวันพระแล้วให้เอาไปประหารชีวิตเสียตามคำลูกขุนพิพากษา ครั้นถึงวัน ๑๔ ค่ำ เดื่อนยี่ สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว (เดี๋ยวนี้เรียกวัดใหญ่) กับพระราชาคณะรวม ๒๕ รูป เข้าไปเฝ้าถามข่าวถึงการที่เสด็จพระราชสงครามตามประเพณี สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเล่าแถลงการทั้งปวงตั้งแต่ต้นจนได้ทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา ให้พระราชาคณะทั้งปวงฟังทุกประการ สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระพรถามว่า " สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ามีชัยชนะแก่ข้าศึกเหตุไฉน ข้าราชการทั้งปวงจึงต้องราชทัณฑ์เล่า " สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า " นายทัพนายกองเหล่านี้มันกลัวข้าศึกมากกว่ากลัวโยม ละให้แต่โยมสองคนพี่น้องฝ่าเข้าไปในท่ามกลางข้าศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ต่อมีชัยชนะกลับมาจึงได้เห็นหน้ามัน นี่หากว่าโยมยังไม่ถึงที่ตาย หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีเสียแล้ว เพราะเหตุนี้โยมจึงให้ลงโทษมันตามอาญาศึก " สมเด็จพนรัตน์จึงถวายพระพรว่า “ อาตมาภาพพิเคราะห์ดูข้าราชการเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวพระราชสมภารเจ้านั้นหามิได้ เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็นเพื่อจะให้พระเกียรติยศพระราชสมภารเจ้าเป็นอัศจรรย์ดอก เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงไม้มหาโพธิ์ ณ เพลาสายัณห์ครั้งนั้น เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมอยู่ทั้งหมื่นจักรวาล พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ ถ้าพระพุทธองค์ได้เทพเจ้าเป็นบริวารมีชัยแก่พระยามารก็จะหาสู้เป็นมหัศจรรย์นักไม่ นี่เผอิญในหมู่อมรอินทร์พรหมทั้งปวงปลาศนาการหนีไปสิ้น ยังแต่พระองค์เดียวอาจสามารถผจญพระยามาราธิราชกับพลเสนามารให้ปราชัยพ่ายแพ้ได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าจึงได้พระนามว่าพระพิชิตมารโมลีศรีสรรเพชดาญาณ เป็นมหามหัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ เบื้องตราบเท่าถึงภวัคพรหม เบื้องต่ำตลอดถึงอโพธาคอเวจีเป็นที่สุด พิเคราะห์ดูก็เหมือนพระราชสมภารเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ครั้งนี้ ถ้าพร้อมด้วยเสนางคนิกรโยธาทวยหาญมากและมีชัยแก่พระมหาอุปราชา ก็จะหาสู้เป็นมหัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศให้ปรากฏไปในนานาประเทศธานีใหญ่น้อยทั้งปวงไม่ พระราชสมภารเจ้าอย่าทรงพระปริวิตกน้อยพระทัยเลย อันเหตุที่เป็นทั้งนี้เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์จักสำแดงพระเกียรติยศดุจอาตภาพถวายพระพรเป็นแท้ ” สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงฟังสมเด็จพระพนรัตน์ถวายวิสัชนากว้างขวางออกพระนามพระบรมอัครโมลีโลกครั้งนั้น ระลึกถึงพระคุณนามอันยิ่งก็ทรงพระปิติโสมนัสตื้นตันพระกมลหฤทัยปราโมทย์ ยกกรประนมเหนือพระอุตมางคศิโรตม์นมัสการ แย้มพระโอษฐ์ว่า “ สาธุ สาธุ พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา ” สมเด็จพระพนรัตน์เห็นว่าพระมหากษัตริย์คลายพระพิโรธแล้ว จึงถวายพระพรว่า “ อาตมาภาพราชาคณะทั้งปวงเห็นว่า ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ก็ผิดนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำราชการ มาแต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชและสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทั้งทำราชการในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระราชสมภารเจ้าแต่เดิมมา ดุจพุทธบริษัทสมเด็จพระบรมครูเหมือนกัน อาตมาภาพทั้งปวงขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้สักครั้งหนึ่งเถิด จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป ” จึงมีรับสั่งว่า “ พระผู้เป็นเจ้าขอแล้วโยมก็จะถวาย แต่ทว่าจะต้องให้ไปตีเอาเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน ” สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระพรว่า “ การซึ่งจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นก็สุดแต่พระราชสมภารเจ้าจะสงเคราะห์ มิใช่กิจของอาตมาภาพทั้งปวงอันเป็นสมณะ ” ว่าแล้วสมเด็จพระพนรัตน์พระราชาคณะทั้งปวงก็ถวายพระพรลาไป[1] สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้นายทัพนายกองที่มีความพ้นผิดจากเวรจำแล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพจำนวนพล ๕๐,๐๐๐ ไปตีเมืองตะนาวศรีทัพ ๑ และให้พระยาพระคลังยกกองทัพจำนวนพล ๕๐,๐๐ ไปตีเมืองทวายอีกทัพ ๑ พวกนายทัพนายกองที่มีความผิดก็ให้เข้ากองทัพไปทำการแก้ตัวด้วยกันทุกคน ยกไปในปลายปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้น
เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พม่าชิงเอาไปเสียเมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองตีได้กรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้พอมีโอกาสสมเด็จพระนเรศวรจึงให้ไปตีก่อนเมืองอื่น แต่เมืองทั้ง ๒ นี้ผิดกัน เมืองทวายซึ่งอยู่ต่อแดนมอญข้างเหนือเมืองตะนาวศรี ไพร่บ้านพลเมืองเป็นทวายชาติหนึ่งต่างหาก การปกครองเคยตั้งทวายเป็นเจ้าเมืองกรมการทั้งหมดจึงเป็นแต่ขึ้นกรุงฯ เหมือนอย่างประเทศราชอันหนึ่ง ไม่สนิทนัก แต่ส่วนเมืองตะนาวศรี ซึ่งอยู่ใต้เมืองทวายลงมาต่อกับเมืองชุมพรนั้น ไพร่บ้านพลเมืองมีทั้งพวกเม็งและไทยปะปนกัน และมีเหตุอีกอย่าง ๑ ตั้งแต่พวกฝรั่งแล่นเรือออกมาได้ถึงประเทศทางตะวันออก เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ต่อมามีเรือกำปั่นแขกฝรั่งมาค้าขายที่เมืองมะริดอันเป็นเมืองขึ้น ตั้งอยู่ที่ปากน้ำเมืองตะนาวศรีปีละหลายๆ ลำทุกปี เพราะอ่าวสำหรับจอดเรือมีเกาะกำบังคลื่นลมได้สนิท และมีทางขนสินค้ามาถึงอยุธยาได้สะดวก เมืองมะริดจึงกลายเป็นเมืองท่าทำเลค้าขายของเมืองไทยทางอ่าวบังกล่า ซึ่งเราเรียกว่า “ ทะเลตะวันตก ”เพราะฉะนั้นจึงทรงตั้งข้าราชการในกรุงฯ ออกไปเป็นเจ้าเมืองตะนาวศรีอย่างหัวเมืองทั้งปวงแต่โบราณมา เมื่อพม่าชิงเอาเมืองทวายเมืองตะนาวศรีไป ก็เอาแบบอย่างไทยไปปกครอง คือให้พวกทวายปกครองกันเอง และให้ข้าราชการพม่าลงมาครองเมืองตะนาวศรี
ครั้นพม่าเจ้าเมืองตะนาวศรีทราบข่าวว่ากองทัพไทยจะยกไปดีเมืองก็รีบบอกขึ้นไปยังกรุงหงสาวดี ขอกองทัพลงมาช่วยรักษาเมือง และครั้งนั้นพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระพิโรธท้าวพระยา นายทัพนายกองที่มากับพระมหาอุปราชาอยู่เหมือนกัน จึงตรัสสั่งให้พวกท้าวพระยาเหล่านั้นคุมกองทัพลงมารักษาเมืองทวายเมืองตะนาวศรี ให้มารบกับไทยแก้ตัวใหม่แต่ในขณะเมื่อกำลังเกณฑ์ทัพอยู่นั้น เจ้าพระยาจักรียกไปถึงเมืองตะนาวศรีเสียก่อน ให้กองทัพล้อมเมืองไว้ พม่าเจ้าเมืองตะนาวศรีต่อสู้อยู่ได้ ๑๕ วันก็เสียเมืองแก่เจ้าพระยาจักรี ส่วนกองทัพพระยาพระคลังซึ่งยกไปตีเมืองทวายได้รบพุ่งกับข้าศึกที่ด่านเชิงเขาบรรทัดครั้ง ๑ ข้าศึกแตกพ่ายไป พระยาพระคลังยกกองทัพตามเข้าไปล้อมเมืองทวายไว้ ๒๐ วันพระยาทวาย ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีตั้งให้ครองเมืองเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ ก็ออกมาอ่อนน้อมยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยาอย่างเดิม
ฝ่ายเจ้าฟ้าพระยาจักรีเมื่อได้เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดแล้วคิดวิตกว่าเมืองทวายอยู่ต้นทาง ถ้าพระเจ้าหงสาวดีให้กองทัพยกลงมาก็จะเข้าตีกระหนาบเอากองทัพพระยาพระคลัง จึงให้จับเรือกำปั่นที่มาค้าขายอยู่ที่เมืองมะริด ได้เรือสลุบของฝรั่งลำ ๑ ของแขก ๒ ลำ และเก็บเรือในพื้นเมืองได้อีก ๑๕๐ ลำ จัดเป็นเรือรบให้พระยาเทพอรชุนเป็นายทัพเรือ คุมพล ๑๐,๐๐๐ ยกไปเมืองทวายทางทะเล และให้พระยาศรีไสยณรงค์คุมพล ๑๐,๐๐๐ อยู่รักษาเมืองตะนาวศรี แล้วเจ้าพระยาจักรีก็ยกพล ๓๐,๐๐๐ ตามขึ้นไปเมืองทวายโดยทางบก กองทัพเรือพระยาเทพอรชุนยกไปทางทะเลถึงตำบลบ้านบ่อ ในแดนเมืองทวาย ปะทะกับกองทัพเรือสมิงอุบากอง สมิงพระตะบะ ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีให้ลงมาช่วยรักษาเมืองตะนาวศรี มีเรือรบบรรทุกรวมกันราว ๒๐๐ ลำ จำนวนพลประมาณ ๑๐,๐๐๐ ก็เข้ารบพุ่งกันที่ในทะเล สู้กันแต่เช้าจนเที่ยงยังไม่แพ้ชนะกันถึงเวลาบ่ายลมตั้งคลื่นใหญ่ก็ทอดรอกันอยู่ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพระยาพระคลังเมื่อได้เมืองทวายแล้ว ก็คิดเป็นห่วงเจ้าพระยาจักรีเหมือนกัน ด้วยไม่ได้ข่าวว่าจะตีเมืองตะนาวศรีได้แล้วหรือยัง จึงจัดกองทัพเรือมีจำนวนเรือรบ ๑๐๐ ลำ กับพลทหาร ๕,๐๐๐ ให้พระยาพิชัยสงครามพระยารามคำแหง คุมลงไปช่วยเจ้าพระยาจักรีที่เมืองตะนาวศรี พอกองทัพออกจากปากน้ำเมืองทวาย ก็ได้ยินเสียงปืนทางทิศใต้ พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง จึงให้ขุนโจมจตุรงค์คุมเรือลาดตะเวนล่วงหน้าลงไปสืบ ได้ความว่ากองทัพเรือของไทยยกขึ้นมาจากข้างใต้ สู้รบอยู่กับกองทัพเรือของพม่า พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหงก็ยกกองทัพเข้าตีกระหนาบพม่าลงไปจากข้างเหนือ ฝ่ายพระยาเทพอรชุนรู้ว่ามีกองทัพเรือยกลงมาช่วยทางข้างเหนือ ก็ยกเข้าตีพม่าทางด้านใต้ กองทัพไทยยิงถูกสมิงอุบากองนายทัพตายในที่รบ แล้งยิงเรือสมิงพระตะบะและเรือรบข้าศึกแตกจมอีกหลายลำ กองทัพเรือพม่าก็แตกกระจัดกระจาย พวกข้าศึกแล่นใบหนีไปบ้างเอาเรือเกยฝั่งขึ้นบกหนีไปบ้าง กองทัพไทยจับ เป็นได้ประมาณ ๕๐๐ ทั้งได้เรือและเครื่องศัสตราวุธอีกเป็นอันมาก
พระยาเทพอรชุน พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง ได้ทราบความจากคำให้การพวกเชลยว่า ยังมีกองทัพของข้าศึกยกลงมาทางบกจากเมืองเมาะตะมะ จะมาช่วยเมืองทวายอีกทัพ ๑ จึงรีบรวบรวมกองทัพกลับไปแจ้งความแก่เจ้าพระยาจักรีที่เมืองทวาย เจ้าพระยาจักรีจึงปรึกษากับพระยาพระคลัง จัดกองทัพบกยกขึ้นไปทางริมแม่น้ำทวายเป็น ๒ ทาง กองทัพเจ้าพระยาจักรียกขึ้นไปทางฝั่งตะวันออก กองทัพพระยาพระคลังยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันตก ไปซุ่มอยู่สองฟากทางที่กองทัพพม่าจะยกลงมา ฝ่ายกองทัพพม่าที่ยกลงมาทางบกครั้งนั้น ยังไม่ทราบว่าเมืองทวายตะนาวศรีเสียแก่ไทยแล้ว เจ้าเมืองมล่วนเป็นนายทัพยกลงมาทางฝั่งตะวันออกกอง ๑ ตรงมาทางเมืองกลิอ่อง หมายจะเข้าเมืองทวายทางตำบลเสือข้าม ซึ่งกองทัพไทยตั้งซุ่มอยู่ เจ้าเมืองกลิดตองปุคุมกองทัพยกลงมาตามทางชายทะเลข้างฝั่งตะวันตกกอง ๑ มาถึงป่าเหนือ บ้านหวุ่นโพะ กองทัพไทยเห็นทัพพม่ายกถลำเข้ามาในที่ซุ่มก็ออกระดมตีทั้ง ๒ ทัพ ข้าศึกไม่รู้ตัวก็แตกพ่ายยับเยิน เสียช้างม้าผู้คนและเครื่องศัสตราวุธแก่ไทยเป็นอันมาก ไทยจับได้นายทัพนายกอง ๑๑ คน ไพร่พล ๔๐๐ เศษ ครั้นเสร็จการรบแล้ว เจ้าพระยาจักรีบอกเข้ามากราบบังคมทูลฯ สมเด็จพระนเรศวรก็ดีพระทัย โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์รักษาเมืองตะนาวศรีต่อไป ส่วนเมืองทวายนั้นให้เจ้าเมืองกรมการเข้ามาเฝ้าถือ น้ำพระพิพัฒน์สัจจาแล้ว โปรดให้กลับไปรักษาเมืองอยู่อย่างเดิม แล้วมีตราให้หากองทัพกลับเข้ามายังพระนคร ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๓๖
ถึงปลายปีมะเส็งนั้น สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพหลวงไปตีกรุงกัมพูชา มีชัยชนะจับนักพระสัฏฐาเจ้ากรุงกัมพูชาได้ให้ประหารชีวิตเสีย ในพิธีปฐมกรรม แล้วกวาดต้อนครอบครัวเขมรมาเป็นเชลยเป็นอันมาก ครั้นเสด็จกลับมาถึงพระนครจึงดำรัสสั่งให้ตั้งหัวเมืองเหนือที่ได้ทิ้งให้ร้างเมื่อเวลาทำสงครามกู้อิสรภาพอยู่ ๘ ปีนั้น ให้กลับมีเจ้าเมืองกรมการปกครองดังแต่ก่อน ทรงตั้งข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบให้ไปเป็นผู้ปกครองคือ พระยาชัยบูรณ์ข้าหลวงเดิมที่ได้ทรงใช้สอยทำศึกมาแต่แรกนั้น ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ครองเมืองพิษณุโลก ให้พระศรีเสาวราช (ทำนองจะเป็นราชนิกุล) ไปครองเมืองสุโขทัย ให้พระองค์ทอง (เป็นเจ้าราชนิกุล) ไปครองเมืองพิชัย ให้หลวงจ่า (แสนย์) ไปครองเมืองสวรรคโลกและเข้าใจว่าส่งครอบครัว เขมรที่ได้มาคราวนั้นไปอยู่ที่หัวเมืองเหนือโดยมาก
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยกล่าวว่า อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจดอ่าวเบงกอลคือรวมถึงมะริด ทวาย ตะนาวศรี ส่วนจดมายเหตุราชทูตเปอร์เซียกล่าวว่า ตะนาวศรีเมืองอุดมสมบูรณ์ มีพลเมืองสยาม 5-6 พันครัว และมิชชั่นนารีที่เดินทางจากยุโรปเข้ามากรุงศรีอยุธยาก็บันทึกไว้ว่า มะริด และทวายขึ้นอยู่กับสยาม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ให้ความสำคัญแก่เมืองมะริดเป็นอย่างมาก เพราะพ่อค้าจากอินเดียและยุโรปจะใช้มะริดเป็นท่าเทียบเรือเพื่อขนส่งสินค้า ด้วยผลประโยชน์ทางการค้า การเมือง และยุทธศาสตร์ ทำให้ไทยกับพม่าทำศึกเพื่อแย่งชิงมะริดไว้ในอำนาจ ใน พ.ศ.2302 ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญาได้ขึ้นครองเมืองหงสาวดี และยกกองทัพมาตีเมืองทวาย เมื่อได้ทวายแล้วก็ตีเมืองมะริด และตะนาวศรีด้วย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ.2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ส่งกองทัพไปชิงเมืองตะนาวศรีคืนจากพม่าแต่ไม่สำเร็จ แต่ใน พ.ศ.2334 มะริด ทวาย และตะนาวศรี ก็มาขอขึ้นกับไทย
ใน พ.ศ.2366 ช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษได้เข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งมะริด ทะวาย และตะนาวศรี ซึ่งนับเป็นการเสียดินแดนครั้งที่สองของไทยในยุครัตนโกสินทร์ หลังจากเสียเกาะหมากแก่อังกฤษเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2329 ดังคำกลอนที่ว
“เสียครั้งแรกเกาะหมากจากแผนผัง เขาเปลี่ยนเป็นปีนังจำได้ไหม
นั่นแหละจากขวานทองเล่มของไทย หนึ่งร้อยกว่าตารางไมล์หลักฐานมี
ครั้งที่สองเสียซ้ำยังจำได้
เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี
ปีสองพันสามร้อยหกสิบหก โชคไม่ดี เสียเนื้อที่กว่าสองหมื่นตารางไมล์...”
และต่อมามีการปักปันเขตแดนบริเวณนั้นกันใน พ.ศ.2411 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดแม่น้ำปากจั่นเป็นแนวเขต
เมื่อพม่าได้เอกราชจากอังกฤษ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และมะละแหม่ง ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตรัฐมอญ เรียกว่าเขตตะนาวศรี หรือตานี้นตายี โดยมีเมืองทวายเป็นเมืองเอกในปลายปี พ.ศ.2553 บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามกรอบความตกลงกับกระทรวงคมนาคมพม่า เพื่อดำเนินการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งจะมีการสร้างไฮเวย์จากทวายถึง จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 160 กิโลเมตร อันจะทำให้สามารถเดินทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ ภายในเวลา 4 ชั่วโมง และท่าเรือน้ำลึกทวายก็จะเป็นสะพานเชื่อมโยงเอเชียอาคเนย์กับตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ทำให้ร่นระยะทางเดินเรือจากการที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาลงไปอย่างมาก รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
ถ้าจะพูดไปแล้ว มะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาแต่อดีตกาล โดยเฉพาะในด้านการค้า และยุทธศาสตร์ จนกลายเป็นชนวนสงครามระหว่างไทยกับพม่าหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัจจุบันเมื่อโลกเปลี่ยนไป และสถานการณ์ทางการเมืองในพม่าเปลี่ยนไป มะริด ทวาย และตะนาวศรี ก็กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะแต่ไทยและพม่า หากแต่มีความสำคัญต่อเอเชียอาคเนย์ และประชาคมโลก
เป็นระยะเวลาหลายร้อยปีที่พม่าตอนใต้ถูกซ่อนเร้นจากโลกภายนอก คล้ายดินแดนที่สาบสูญปรากฏเพียงเรื่องเล่าซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ไทยมาโดยทุกยุคทุกสมัย พม่าตอนใต้ประกอบไปด้วย ทวาย มะริด และกอตองหรือเกาะสอง เมืองเหล่านี้อยู่ในเขตการปกครองของเขตตะนาวศรี (Tanintharyi Division) มีเมืองหลวงชื่อเมืองทวายหรือดะแว (Dawei) ซึ่งมีประวัติศาสตร์นับย้อนไปถึงยุคทวารวดี ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัยและอยุธยา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริดและทวาย สินค้าจากยุโรปและอินเดียถูกส่งมาขายที่อยุธยาผ่านทางดินแดนแห่งนี้ ด้วยพื้นที่ประมาณ 43,000 ตารางกิโลเมตร ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน 320 กิโลเมตรและประชากรราว 1,400,000 คน พม่าตอนใต้จึงเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวและนักสำรวจมิอาจมองข้ามไปได้
จุดที่มีวันหยุดพักผ่อนที่ดีที่สุดในประเทศพม่าเป็นหมู่เกาะมะริดซึ่งเป็นพื้นที่ของความงามของธรรมชาติและสวยงาม ไม่เพียง แต่เป็นบ้านที่หมู่เกาะไป 800 เกาะที่มีทะเลที่โดดเด่นและการใช้ชีวิตบนบกก็ยังเป็นบ้านที่ชาวมอแกน ว่า "ชาวเล" เป็นหนึ่งในผู้ลึกลับมากที่สุดและน่าสนใจประชาชนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเขาอาศัยอยู่เกือบเฉพาะในน้ำและวิธีการทางจิตวิญญาณของพวกเขาเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นที่รักอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เปิดอีกครั้ง
มะริดถูกปิดยาวเพื่อนักท่องเที่ยว มันเป็นในปี 1997 ว่ามีข้อ จำกัด ถูกยก แต่ ข้อ จำกัด ในการเดินทางมีความหมายว่าผู้เข้าชมค่อนข้างน้อยเข้ามานี้เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจของพม่า (พม่า)
มี3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์จากย่างกุ้งซึ่งบางครั้งจะถูกยกเลิกโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือคุณอาจต้องการที่จะกระโดดขึ้นไปบนเรือ (ซึ่งมีราคาถูกกว่า) จากKawthoungหรือทวาย ผู้ที่มีงบประมาณขนาดใหญ่อาจจะสามารถคว้าสายระดับห้าดาวที่จะเยี่ยมชมมะริด แต่คุณจะต้องเวลาที่เหมาะสมเพราะพวกเขาเพียงครั้งเดียวเข้าชมสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ห้องโดยสารชั้นแรกสายเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้มี
มะริดเป็นสถานที่ขนาดใหญ่ หลายร้อยของหมู่เกาะในพื้นที่แต่ละคนมีความโดดเด่นธรรมชาติ หลายคนถูกปกคลุมด้วยหลังคาป่าฝนมหาศาลและการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายเข้าของแผ่นดินใหญ่ยังไม่ได้ทำมันออกไปยังเกาะเลย นั่นหมายความว่าคุณสามารถเพลิดเพลินกับการพักผ่อนเดินผ่านต้นไม้จำกวาง , ลิงหมูป่าและนกเขตร้อน
เช่าเรือและเพลิดเพลินไปกับบางส่วนของที่งดงามที่สุดประมงในโลก หรือ POP บนดำน้ำและไปดำน้ำในช่วงที่มีสุขภาพดีและเจริญรุ่งเรืองแนวปะการัง เก็บตาออกสำหรับโลมาที่คุณไป; ในขณะที่มีปลาฉลามในพื้นที่มีรายงานปัญหาใด ๆ ที่ดีสำหรับนักว่ายน้ำจากพวกเขาไม่มี
หรือเพียงแค่ชิลล์
สำหรับผู้ที่ต้องการเพียงที่จะเตะกลับและเย็นให้เลือกเกาะ (เกือบเกาะ) และตุนเบียร์และบาร์บีคิวและวางกลับมาอยู่ในหาดทรายสีขาว ซึ่งเป็นวิธีการที่สมบูรณ์แบบที่จะใช้จ่ายวันพักผ่อนขึ้นจากการเดินทางส่วนที่เหลือของประเทศพม่า
มีจำนวนมากของหมู่เกาะที่จะเลือกจากในหมู่เกาะมะริดและเราได้รวบรวมรายการของที่ดีที่สุดรวมทั้ง; Salon เกาะ , เกาะ Thathay, เกาะ Khatyinkhuk , เกาะ Myaukni , เกาะ Haingu , 115 เกาะ , เกาะ Nyaungyee , เกาะ Bocho , Lanpe เกาะ , วา Ale Kyunn เกาะ , เกาะ Pheela , ปาเลาเกาะหนาเล่อะ , เกาะ Great Swington , เกาะ Langan , เกาะ Macleod , Ye Aye HnalThaihe เกาะ , เกาะ Kabean , Pula เกาะชุดและเกาะ ThayawThadan
ความเป็นมาของเมืองทวาย-มะริด-ตะนาวศรี
ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้บันทึกชื่อของเมืองทวายและตะนาวศรีว่าเป็นเมืองในอาณาจักรสยาม ตามปรากฏในพงศาวดาร
ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา เอกสารประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุว่า ตะนาวศรีเป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนสยาม[1]ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสยามสมัยอยุธยาระบุว่า มะริดและตะนาวศรีเป็นสมบัติของกษัตริย์สยาม สยามสมัยพระนารายณ์มหาราชมีอาณาเขตแผ่ถึงปัตตานี ลาว ภูเขียว เขมร อังวะ พะโค และมะละกา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริด และภูเก็ต และมีจังหวัดสำคัญคือ พิษณุโลก ตะนาวศรี กรุงเทพฯ และเพชรบุรี เอกสารบางชิ้นระบุการดำรงอยู่ของชาวสยามในมณฑลตะนาวศรี อาทิคณะราชทูตจากเปอร์เซียที่กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2228"ตะนาวศรีเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์มีพลเมืองที่เป็นคนสยามประมาณ 5-6 พันครัว"
ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองมะริด และตะนาวศรี ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริด ตะนาวศรี กันบ่อยครั้ง
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง เช่นในปีพ.ศ. 1883 ที่พระยาเลอไทย ราชโอรสของพระเจ้ารามคำแหงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน หัวเมืองมอญได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับไทย และได้มาตีเอาเมืองทะวายและตะนาวศรีจากไทยไปได้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เคยได้ให้ทัศนะว่า เมืองตะนาวศรี และเมืองทวายเป็นเมืองขึ้นของไยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย พม่าชิงเอาไปสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยา เมืองทวายมีไพร่บ้านพลเมืองเป็นทวาย เมืองตะนาวศรีมีไพร่บ้านพลเมืองมีทั้งพวกเม็งหรือมอญและไทยปะปนกัน ผู้คนเมืองมะริดมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
หรือในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรีของไทยไปได้ด้วย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2334เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาสวามิภักดิ์ขอขึ้นกับไทย
ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปักปันเขตแดนไทย-พม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม
เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา
ในอนุสัญญา ได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “..ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น...”
สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย
กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
เซอร์เจมส์ สก๊อตต์ ระบุว่า ประชากรสยามในมณฑลตะนาวศรีภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมีประมาณ 19,631 คน คนสยามอาศัยอยู่ในอำเภอทวาย อัมเฮิสต์ และมะริด กลุ่มคนสยามอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีในช่วงั้นตะนาวศรีมีฐานะเป็นมณฑล ประชากรปี พ.ศ. 2444 มีประมาณ 1,159,558 คน ประกอบด้วยคนพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฉานจีน และสยาม คนสยามอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของพม่า โดยเฉพาะอำเภอมะริด อัมเฮิสต์ และทวาย มะริดอยู่ใต้สุดของพม่า ในปี พ.ศ. 2444 มะริดมีประชากรประมาณ 88,744 คน ในจำนวนนี้มีคนสยามอาศัยอยู่ในตัวเมืองมะริดประมาณ 9,000 คน มะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin) และมะลิวัลย์ (Maliwun) ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยาม เมืองสะเทิมอยู่ติดทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรมอญเดิม ปี พ.ศ. 2444 มีประชากร 343,510 คน ในจำนวนนี้มีชาวสยามประมาณ 10,000 คน
ในหนังสือ Imperial Gazetteer of India ระบุว่าชาวสยามกระจายเป็นคนส่วนน้อยในอำเภออื่นของมณฑลตะนาวศรี เช่นอัมเฮิสต์ และทวาย ในอัมเฮิสต์ (ปัจจุบันคือเมืองไจก์กามี) สยามตั้งอาณานิคมขนาดเล็กของตนทวายปี พ.ศ. 2444 มีประชากรประมาณ 109,979 คน และเพียง 200 คนเท่านั้นที่แสดงตนเป็นคนสยาม
แม้ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นพื้นที่ของประเทศพม่าไปแล้วแต่ชาวไทยในเขตตะนาวศรียังมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับคนไทย และรัฐบาลพม่าก็มิได้มีการเข้ามาแทรกแซงในวิถีชีวิตของไทยในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งมีการสู้รบกันในประเทศพม่า ทำให้ชาวไทยพลัดถิ่นในตะนาวศรีอพยพกลับมาในฝั่งไทย และได้ร้องขอสัญชาติไทยจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยได้ออกบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นให้ถือระหว่างที่รอขอสถานะการเป็นคนไทย อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยพลัดถิ่นจำนวนไม่น้อยที่ตกสำรวจทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นดังกล่าว วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 นายประเสริฐ อินทรจักร คนไทยพลัดถิ่นได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จับกุม และตั้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ศาลจังหวัดระนองได้มีคำพิพากษาว่าคนไทยพลัดถิ่นถือว่าเป็นคนเชื้อชาติไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย สามารถได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ ซึ่งศาลได้มองว่าคนเชื้อชาติไทยย่อมจะมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย แม้ในช่วงที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย สายการบิน myanmar national airlines จองสายการบินจาก ย่างกุ้ง สู่ เมืองมะริด วันละ 2 เที่ยวบิน
คลิ๊กจองตั๋ว ที่นี่...Booking Flights
ผู้ใหญ่ ราคาท่านละ 7900 บาท พักโรงแรม Golden sky ไม่มี เมนุกุ้งมังกร
ราคาท่านละ 8900 บาท พักโรงแรม Grand Jade มีเมนู กุ้งมังกร
เที่ยวเมืองมะริด ประเทศพม่า แบบมืออาชีพ กินดี เที่ยวดี พักดี โรงแรม 4 ดาว เพิร์ล ลากูน่า รีสอร์ต Pearl Laguna Resort
) ราคา 9500 บาท
08.00 น. | พบคณะที่ ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังผ่านการตรวจเอกสารผ่านแดนแล้ว นำท่านขึ้นรถตู้ท้องถิ่นกว้างขวาง นั่งสบาย นั่งรถไปตามถนนสายร่มรื่นมุ่งสู่เมืองมะริด เมืองท่าเก่าแก่แห่งตะนาวศรี ผ่านสวนหมาก สวนปาล์ม สวนยางพารา จากคาบสมุทรชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บนเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณและเส้นทางค้าขายระหว่างประเทศตะวันตกและตะวันออกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มาอย่างยาวนานนับพันปี นำท่านแวะชม ชุมชนชาวไทยพลัดถิ่น ณ หมู่บ้านสิงขร ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของบ้านเดิมในแบบไทยไว้ ตามประวัติกล่าวว่าคนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี หรือที่ทางราชการเรียกว่า ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยสยาม ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาอยู่ตั้งแต่หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) หลังการยึดครองของอังกฤษ ชาวไทยเหล่านี้จึงกลายเป็นสัญชาติพม่า สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางต่อสู่เมืองตะนาวศรี |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร |
บ่าย | นำท่านชมเมืองตะนาวศรีเมืองค้าขายที่สำคัญในอดีตริมแม่น้ำตะนาวศรีหรือที่ชาวพม่าเรียกขานกันทั่วไปว่า ตะหนิ่นตาหยี่ นั่งรถชมเมืองผ่านบ้านเรือนโบราณลักษณะคล้ายกับเรือนไทยในภาคกลางแถบกาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพราะพื้นที่นี้มีความเกี่ยวเนื่องกันในประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์บรรยากาศดูไป ก็มีกลิ่นอายคล้ายเชียงคานอยู่เช่นกัน นำท่านสักการะ เสาหลักเมืองตะนาวศรี ซึ่งเชื่อกันว่าหญิงสาวที่ชื่อ พะอาวซา ได้เสียสละชีวิตเพื่อดูแลรักษาเสาหลักเมืองแห่งนี้ ก่อนเดินทางออกจากเมืองตะนาวศรี แวะชม สระน้ำกษัตริย์ราชมังขลาอายุ 700 ปี |
เย็น | เดินทางถึงเมืองมะริด เมืองท่าสำคัญบนทะเลอันดามันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 จากนั้นนำท่านเช็คอินที่ โรงแรม![]() ![]() |
ค่ำ | บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: กั้งทอดกระเทียม จากนั้นนำท่านเดินทางกลับโรงแรมพร้อมพักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่สอง วัดพระนอน - ตลาดเซจี - ฟาร์มปูนิ่ม - อู่ต่อเรือ - บ่อกุ้งมังกร - ร้านไข่มุก-โรงงานเม็ดมะม่วง หิมพานต์ - เจดีย์คู่บ้านคู่เมืองมะริด (เช้า/กลางวัน/เย็น) | |
---|---|
07.00 น. | “มิงกาลาบาเซ” สวัสดียามเช้าค่ะ บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม (บุฟเฟ่ต์) ชั้นบนสุดของโรงแรม มองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดที่สวยงาม ประทับใจ |
08.00 น. | นำท่านไปยัง ตลาดเซจี (ZayGyi) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะริด ให้ท่านอิสระในการเดินช็อปปิ้ง และเลือกซื้อของฝากพร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวมะริดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก |
09.00 น. | นำท่านเดินทางไปยัง วัดปอดอมู ตามตำนานกล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นโดยเทวดาภายหลังพระอรหันต์จำนวน 6 รูปได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้รับพระเกศาจำนวน 6 เส้นจากพระพุทธองค์เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ ณ ดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุยาวนานถึง 5,000 ปี หลังจากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระอรหันต์จำนวน 6 รูปนั้นได้เดินทางมาถึงเขตตะนาวศรีและได้ให้เทวดาองค์หนึ่งสร้างเจดีย์ปอดอมูขึ้นพร้อมประดิษฐานพระเกศาธาตุจำนวน 1 เส้นไว้ในเจดีย์แห่งนี้ ส่วนที่เหลือก็นำไปประดิษฐานไว้ยังเจดีย์อื่นๆ ทั่วเขตตะนาวศรี จากนั้นนำท่านสักการะ เจดีย์จำลองชเวดากองหรือเจดีย์มหาเตธิชายา (MahaTheidizaya Pagoda) ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2008 โดยจำลองมาจากองค์มหาเจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ภายในวิหารโอ่โถงกว้างใหญ่ มีภาพวาดบอกเล่าเรื่องราวการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ไว้รอบทิศ |
10.00 น. | ออกเดินทางสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวเมืองมะริดผ่านอุตสาหกรรมประมงอาทิ ฟาร์มเลี้ยงปูนิ่ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของเมืองมะริดปัจจุบันพม่าเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลอันดับที่ 18 ของโลก จากนั้นนำท่านไปชม อู่ต่อเรือ ขนาดใหญ่ของเมืองมะริดใกล้กับ สะพานจวยกู ซึ่งเป็นสะพานเหล็กที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศพม่าเป็นรองแค่สะพานข้ามแม่น้ำสาละวินที่เมืองเมาะละแหม่งเท่านั้นสะพานแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะนาวศรี การต่อเรือนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมประมงของเมืองมะริด |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: ปูนิ่มทอดกระเทียม) |
บ่าย | หลังรับประทานอาหาร นำท่านเดินทางรอบเกาะ และแวะสักการะ องค์พระนอนอตูละชเวทัลเยือง บนเกาะปาเตท (Pa Htet) ใกล้กับเกาะปาถ่อง (Pa Htaw) วัดพระนอนแห่งนี้มีความยาว 144 ศอก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 ภายในองค์พระพุทธรูปแบ่งเป็นห้องๆ แสดงพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า จากนั้นตามด้วย บ่อกุ้งมังกร ซึ่งท่านจะได้สัมผัสกุ้งมังกรและกั้งสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน ก่อนถูกส่งไปขายที่เมืองไทยและย่างกุ้ง จากนั้นเดินทางต่อไปยัง ร้านไข่มุก ชื่อดังของเมืองมะริด ให้ท่านได้เลือกชมและซื้ออัญมณีแห่งสายน้ำอย่างเต็มที่ และไข่มุกที่มะริดนั้นถูกส่งไปขายถึงประเทศญี่ปุ่น นำท่านเดินทางต่อไปยัง โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งท่านจะได้สัมผัสวิธีการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน จากนั้นนำท่านชมบรรยากาศของถนนริมทะเลอันดามัน (Strand Road) ที่คึกคักไปด้วยร้านค้าและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พร้อมเดินชม ห้างสรรพสินค้า Myeik Shopping Center ซึ่งเป็นห้างสมัยใหม่ริมทะเลอันดามัน |
เย็น | นำท่านไปนมัสการ องค์พระเจดีย์เตนดอจี(Thein DawGyi) ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของมะริด เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาใจกลางเมืองมะริดและ ณ ที่แห่งนี้มีพระพุทธรูปศิลปะแบบไทยประดิษฐานไว้ในโบสถ์ด้วย คาดว่าน่าจะก่อสร้างในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่ากันว่าคนไทยนิยมสร้างโบสถ์ส่วนคนพม่านิยมสร้างเจดีย์ บนเจดีย์แห่งนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดได้ครบ 360 องศาเป็นภาพที่งดงามและประทับใจอย่างยิ่ง |
ค่ำ | บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร หลังรับประทานอาหารและสมควรแก่เวลา นำท่านเดินทางกลับโรงแรมและพักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่สาม ตลาดสด - ด่านสิงขร (เช้า/กลางวัน/-) | |
---|---|
07.00 น. | บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม |
08.00 น. | เช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมพร้อมนำท่านชม ตลาดสดยามเช้า ของเมืองมะริด ท่านจะได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวมะริดอย่างใกล้ชิดท่ามกลางบรรยากาศอันแสนคึกคักของตลาด จากนั้นเดินทางออกจากเมืองมะริต |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร |
บ่าย | เดินทางถึงด่านสิงขร นำท่านผ่านพิธีการผ่านแดนออกจากพม่า เข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง นำท่านเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพและประทับใจ |
ผู้ใหญ่ ราคาท่านละ 7900 บาท พักโรงแรม Golden sky ไม่มี เมนุกุ้งมังกร
ราคาท่านละ 8900 บาท พักโรงแรม Grand Jade มีเมนู กุ้งมังกร
พักเดี่ยวราคาท่านละ 1,800 บาท - 2000 บาท
ค่าบริการนี้รวม
1. ค่ารถตู้ปรับอากาศ นำเที่ยวตลอดรายการที่ทวาย
2. ค่าโรงแรมระดับมาตรฐาน 2 คืน (พักห้องละ 2 ท่าน) กรณีพักเดี่ยว ชำระเพิ่มท่านละ 1,800 บาท
3. ค่าอาหารทุกมื้อที่ระบุในรายการ
4. ค่าดำเนินการเอกสารผ่านแดนทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า
5. ค่าน้ำดื่ม ขนม และผ้าเย็น ระหว่างการเดินทาง
6. ค่ามัคคุเทศก์ท้องถิ่น (ภาษาไทย)
7. ค่าประกันการเดินทางเป็นหมู่คณะ วงเงินประกัน 100,000 ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ค่าบริการนี้ไม่รวม
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีดในโรงแรม ค่ามินิบาร์ในโรงแรม
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่มนอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้
3. ค่าทิปไกด์และคนขับรถ
เที่ยวเขตตะนาวศรี - พม่า - ด่านบ้านพุน้ำร้อน - หาดมอมะกัน - วัดเจดีย์กะเลอ่องซานดอว์เซน - หาดนาปูแล (โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ) - ไหว้พระชมเมือง - ตลาดร้อยปี - โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ - บ่อกุ้งมังกร - ตลาดสะพานปลา - เสิร์ฟกุ้งมังกร ท่านละ 1 ตัว
รถตู้ปรับอากาศ V.I.P | สะอาด ปลอดภัย พนักงานอัธยาศัยดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาหาร | อาหารไทยรสชาติคนไทย อาหารพื้นเมือง และอาหารทะเลสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน เมนูพิเศษ: 1.กุ้งมังกร (Grilled Lobster) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โรงแรม![]() | คืนที่ 1: พักที โรงแรม![]() ![]() คืนที่ 2: พักที โรงแรม ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประกันภัย | วงเงินประกัน 100,000 บาท (เงือนไขตามกรมธรรม์)
|









-
-
โปรแกรมการเดินทางสู่เมืองทวาย 3 วัน 2 คืน (ไหว้พระชมเมืองทวาย) sunitjo travel ขอนำท่านออกค้นหาเส้นท...
-
-
-
-
-