ทวาย ประเทศพม่า Dawei Myanmar


ทวาย พม่าเปิดเมือง ต้อนรับ AEC กับการเดินทางโดยรถยนต์ เริ่มต้นจากด่าน บ้านพุน้ำร้อนกาญจนบุรี ด้วยระยะทาง 150 กิโลเมตร กับเสันทางที่สบายไม่ยากแบบที่คิดใช้เวลาเดินทางเข้าทวาย 4 ชั่วโมงแค่นั้นเอง ก็ถึงเมืองทวาย เมืองประตูสู่การค้าขาย อาหารทะเลสด กุ้งมังกร กุ้งแม่น้ำ ปลาทะเล อาหารทะเลทุกชนิด จากทะเลอันดามัน ปลอดภัย ผู้คนอัธยาศัยดีมาก เป็นมืตร มีน้ำใจ บางคนเคยเดินทางมาทำงานที่เมืองไทย สามารถพูดภาษาไทยได้ ทวายเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ มาก่อน ทำให้สถาปัตยกรรม ของรูปแบบ การก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน ราชการ ก็จะออกแบบไสตร์ฝรั่ง แบบยุโรป มีการอนุรักษ์ บ้านเรือน อาคาร ให้อยู่ในสภาพที่ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง สวยงาม อลังกาล คิดว่าอีกไม่นาน เมืองทวายน่าจะได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นแหล่งมรดกโลก กับองค์การยูเนสโก้ อย่างแน่นอน สำหรับใครที่ยังไม่เคยมาเยือนเมืองทวาย ก็แนะนำให้มาชม ก่อนที่ทวายจะเปลี่ยนไป เพราะโครงการขนาดใหญ่ ท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม กำลังจะเกิดขึ้นและดำเนินการแบบต่อเนื่องแล้วหลังจากโครงการได้ หยุดชะงักไประยะหนึ่ง กับ ปัญหาภายในของพม่าเอง ยินดีต้อนรับสู่เมืองทวายของประเทศพม่า เป็นเมืองหลักของเขตตะนาวศรี ตั้งอยู่ห่างจากย่างกุ้งราว 614.3 กม. (381.7 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำทวายด้านเหนือ เมืองมีประชากรราว 139,900 คน (ค.ศ. 2004) เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำ อยู่ห่างจากทะเลอันดามันราว 30 กิโลเมตร (18.6 ไมล์) มีน้ำท่วมบ่อยครั้งจากฤดูมรสุม ขนะนี้..การเดินทางเข้าพม่า ที่ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ด่านถาวร จังหวัดกาญจนบุรี เข้าออกได้สะดวก เพียงนำบัตรประชาชน ไทย ไปทำ BORDERPASS กับเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมือง ก็จะได้ใบผ่านแดนชั่วคราวไปเมืองทวายได้แล้วครับ บัตรนี้สามารถอาศัยอยู่ในทวายได้ 7 วัน หรือ 1 อาทิตย์ 

ข้อควรจำ พม่า ยังไม่อนุญาติให้รถยนต์ทะเบียนของไทยข้ามฝั่งไปพรหมแดนพม่าครับ ต้องใช้รถยนต์ของพม่าเอง มีบริการที่ด่านชายแดน รถตู้รับจ้าง และบริษัททัวร์ต่างๆก็มีบริการ ที่ด่านชายแดนบ้านพุน้พร้อน แต่ก็ใช้รถทะเบียนพม่าเช่นกัน สำหรับคณะทัวร์ของ sunitjotravel เดินทางด้วยรถส่วนตัวทะเบียนพม่า มีไกท์มาตรฐาน คนพม่าพูดไทยได้ชัดแปะ รู้เรืองการท่องเที่ยวทวายแบบเจาะลึกรู้จริง อธิบายแหล่งท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ชัดเจน รับประกันความสนุก ทวายก็มีมนต์สเน่ห์ ที่น่าหลงไหลอีกมากมาย ต้องการ เยือนเมืองทวายแบบเจอะลึก ติดต่อเข้ามาครับ www.sunitjotravel.com  098-0641749

แนะนำโครงการทวาย


Dawei Deep Seaport

 

"An Industrial Project That Could Change Myanmar"-The New York Times

 
การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายนิคมอุตสาหกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จะส่งผลให้ทวายก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการค้าที่เจริญก้าวหน้าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้ และเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องในการขนส่งทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน
 
 รัฐบาลไทยและเมียนมาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 ในการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้ำลึกทวายและถนนเชื่อมต่อไปยังประเทศไทย บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (Italian-thai Development Public Company Limited "ITD") ได้ลงพื้นที่ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและทำแผนงานพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 การท่าเรือสหภาพเมียนมาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding: MOU) เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งครอบคลุมท่าเรือน้ำลึกทวายและโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีข้อเสนอที่จะพัฒนาถนนเชื่อมโยงจากพรมแดนทวายไปสู่ประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งแบบบูรณาการ

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ได้ลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ซึ่งประกอบไปด้วยโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรม ถนนเชื่อมโยงพรมแดน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 กระทรวงการคลังไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการพัฒนาโครงการทวาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธานคณะทำงาน โดยมีคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ผู้แทนธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

 

และในวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการสนับสนุนและผลักดันโครงการทวาย ซึ่งมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการจากรัฐบาลเมียนมาร์ โดยกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐอย่างเป็นทางการ

 

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและเมียนมาร์ได้ให้ความสำคัญและมีการหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายน 2555 รัฐบาลไทยและเมียนมาร์ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีคณะทำงาน 3 ระดับ ได้แก่ คณะทำงานร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์ (Joint High-level Committee: JHC) คณะกรรมการประสานร่วมไทย-เมียนมาร์ (Joint Coordination Committee: JCC) และคณะอนุกรรมการ (Joint Sub-Committee: JSC) 6 สาขา ได้แก่ 1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง 2. ด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาธุรกิจ 3. ด้านไฟฟ้าและพลังงาน 4. ด้านการพัฒนาชุมชน 5. ด้านกฏระเบียบ และ 6. ด้านการเงินและการลงทุน เพื่อทำงานร่วมกันในการพัฒนาโครงการทวายให้แล้วเสร็จ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของโครงการทวาย

 

จากการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์ (JHC) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 ที่ประชุมได้ข้อสรุปถึงเรื่องโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) และได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ในการก่อตั้ง SPV ซึ่งในเบื้องต้น ทั้ง 2 ฝ่ายจะถือหุ้นฝั่งละ 50% เพื่อให้เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รับสัมปทานการพัฒนาโครงการทวาย รวมทั้งการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยฝ่ายเมียนมาร์ถือหุ้นผ่านหน่วยงาน The Foreign Economic Relations Development (FERD) ส่วนไทยถือหุ้นผ่านสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ NEDA ทั้งนี้รัฐบาลไทยและเมียนมาร์มีแผนที่จะเชิญประเทศที่สนใจเข้าร่วมลงทุนใน SPV เพื่อพัฒนาโครงการทวายต่อไป

 

ภายหลังการจัดตั้ง SPV จะมีการจัดตั้งนิติบุคคลย่อย (Special Purpose Companies: SPCs) เพื่อพัฒนาโครงการทวายใน 7 สาขาหลัก ได้แก่ 1. ท่าเรือน้ำลึก 2. ถนนเชื่อมต่อจากโครงการทวายสู่ประเทศไทย ณ ชายแดนบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี 3. นิคมอุตสาหกรรม 4. ระบบไฟฟ้า 5. ระบบน้ำประปาและการบำบัดน้ำเสีย 6. ระบบโทรคมนาคม และ 7. ระบบการขนส่งทางรถไฟ

 

ระหว่างการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมไทย-เมียนมาร์ (JCC) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 นั้น ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงฉบับใหม่ (New Framework Agreement) ระหว่างคณะกรรมการบริหารโครงการทวาย (DSEZ Management Committee) และบริษัททวาย เอส อี แซด ดีเวลล๊อปเมนท์ จำกัด (SPV) โดยให้สิทธิแก่ SPV ในการดูแลบริหารการพัฒนาโครงการทวาย การเชิญชวนและคัดเลือกภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนเป็นนิติบุคคลย่อย (SPCs) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องในโครงการทวายระยะแรกเริ่ม (Initial Phase)

 

โดยกรอบการตกลงฉบับใหม่นี้ ส่งผลให้โครงการทวายอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือของโครงการ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการ

 

  

โครงการที่ลงทุนในทวายนั้น เป็นการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 เขตอุตสาหกรรม ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม ถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไปสู่ประเทศไทย รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยเมียนมาร์

 

ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดทวายประมาณ 28 กม. ซึ่งอยู่ในตอนเหนือของอ่าวเมืองมะกัน มีการลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ถนนเชื่อมโยงจากทวายไปยังประเทศไทย และด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลเมียนมาร์ในการเชื่อมโยงทางรถไฟจากทวาย ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ มูเซ เชื่อมต่อไปยังทางรถไฟจีนที่คุนหมิง ทำให้โครงการนี้ได้รับการเสนอให้เป็นจุดศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญของภูมิภาค

 

ประโยชน์สำคัญของท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายนั้นคือ ทำหน้าที่เป็นประตูสู่การค้าใหม่ให้เส้นทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกให้กับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกา ซึ่งจะช่วยลดการจราจรที่คับคั่งในช่องแคบมะละกา ลดเวลาการขนส่งและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และเป็นสถานที่ที่ได้เปรียบในการค้าเนื่องจากตรงเข้าถึงทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียในการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ในนิคมอุตสาหกรรมยังช่วยสร้างตลาดใหม่สำหรับการลงทุนของต่างประเทศ จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและจากการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

 โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายและสาธารณูปโภคต่างๆในโครงการจะช่วยเพิ่มรายได้สำหรับรัฐบาลเมียนมาร์ผ่านทางภาษีจากโครงการและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้ยังช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานสำหรับคนเมียนมาร์กว่าหลายร้อยหลายพันคน ซึ่งแรงงานเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาโครงการ นอกจากนี้สหภาพเมียนมาร์จะได้ประโยชน์จากการค้าการลงทุนระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ การใช้ประโยชน์จากท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมนี้ จะเปลี่ยนทวายเป็นปลายทางการลงทุนแห่งใหม่และเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคที่สำคัญ การพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ในสหภาพเมียนมาร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่โดยรวมในภูมิภาค

Visitors: 4,388,401