การเดินทางไป เมืองทวาย พม่า จากด่านบ้านพุน้ำร้อน เมืองกาญจนบุรี
ทวาย พม่าเปิดเมือง ต้อนรับ AEC กับการเดินทางโดยรถยนต์ เริ่มต้นจากด่าน บ้านพุน้ำร้อนกาญจนบุรี ด้วยระยะทาง 150 กิโลเมตร กับเสันทางที่สบายไม่ยากแบบที่คิดใช้เวลาเดินทางเข้าทวาย 4 ชั่วโมงแค่นั้นเอง ก็ถึงเมืองทวาย เมืองประตูสู่การค้าขาย อาหารทะเลสด กุ้งมังกร กุ้งแม่น้ำ ปลาทะเล อาหารทะเลทุกชนิด จากทะเลอันดามัน ปลอดภัย ผู้คนอัธยาศัยดีมาก เป็นมืตร มีน้ำใจ บางคนเคยเดินทางมาทำงานที่เมืองไทย สามารถพูดภาษาไทยได้ ทวายเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ มาก่อน ทำให้สถาปัตยกรรม ของรูปแบบ การก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน ราชการ ก็จะออกแบบไสตร์ฝรั่ง แบบยุโรป มีการอนุรักษ์ บ้านเรือน อาคาร ให้อยู่ในสภาพที่ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง สวยงาม อลังกาล คิดว่าอีกไม่นาน เมืองทวายน่าจะได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นแหล่งมรดกโลก กับองค์การยูเนสโก้ อย่างแน่นอน สำหรับใครที่ยังไม่เคยมาเยือนเมืองทวาย ก็แนะนำให้มาชม ก่อนที่ทวายจะเปลี่ยนไป เพราะโครงการขนาดใหญ่ ท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม กำลังจะเกิดขึ้นและดำเนินการแบบต่อเนื่องแล้วหลังจากโครงการได้ หยุดชะงักไประยะหนึ่ง กับ ปัญหาภายในของพม่าเอง ยินดีต้อนรับสู่เมืองทวายของประเทศพม่า เป็นเมืองหลักของเขตตะนาวศรี ตั้งอยู่ห่างจากย่างกุ้งราว 614.3 กม. (381.7 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำทวายด้านเหนือ เมืองมีประชากรราว 139,900 คน (ค.ศ. 2004) เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำ อยู่ห่างจากทะเลอันดามันราว 30 กิโลเมตร (18.6 ไมล์) มีน้ำท่วมบ่อยครั้งจากฤดูมรสุม ขนะนี้..การเดินทางเข้าพม่า ที่ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ด่านถาวร จังหวัดกาญจนบุรี เข้าออกได้สะดวก เพียงนำบัตรประชาชน ไทย ไปทำ BORDERPASS กับเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมือง ก็จะได้ใบผ่านแดนชั่วคราวไปเมืองทวายได้แล้วครับ บัตรนี้สามารถอาศัยอยู่ในทวายได้ 7 วัน หรือ 1 อาทิตย์
ข้อควรจำ พม่า ยังไม่อนุญาติให้รถยนต์ทะเบียนของไทยข้ามฝั่งไปพรหมแดนพม่าครับ ต้องใช้รถยนต์ของพม่าเอง มีบริการที่ด่านชายแดน รถตู้รับจ้าง และบริษัททัวร์ต่างๆก็มีบริการ ที่ด่านชายแดนบ้านพุน้พร้อน แต่ก็ใช้รถทะเบียนพม่าเช่นกัน สำหรับคณะทัวร์ของ sunitjotravel เดินทางด้วยรถส่วนตัวทะเบียนพม่า มีไกท์มาตรฐาน คนพม่าพูดไทยได้ชัดแปะ รู้เรืองการท่องเที่ยวทวายแบบเจาะลึกรู้จริง อธิบายแหล่งท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ชัดเจน รับประกันความสนุก ทวายก็มีมนต์สเน่ห์ ที่น่าหลงไหลอีกมากมาย ต้องการ เยือนเมืองทวายแบบเจอะลึก ติดต่อเข้ามาครับ www.sunitjotravel.com 098-0641749

กาญจนบุรี
วันเปิดทำการ:ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.30 - 16.30ข้อมูลการติดต่อ
- -
-
Tel. +6634 510 872, +6686 168 5692 (คุณมงคล), +6689 873 3396
Tel. -
หมวดหมู่ : หมู่บ้าน ชุมชน
รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว :
หนังสือผ่านแดนมี 2 ประเภทคือ
1. หนังสือผ่านแดน Border pass มีอายุ 2 ปี ***เฉพาะคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ภายในจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น ***
ขั้นตอนการทำหนังสือผ่านแดน
1.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรูปถ่ายสองนิ้ว 1 รูป
2.สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องมีพ่อแม่พามาติดต่อเท่านั้น พร้อมแสดงหลักฐานทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของเด็กทุกครั้ง
3.รับเอกสาร พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียม ท่านละ 200 บาท
4.หนังสือผ่านแดน มีอายุ 2 ปี พำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ สามารถเข้าไปถึงเมืองทวายได้ เสียค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 200 บาท และค่าผ่านแดนฝั่งพม่า 30 บาท
**หมายเหตุ การออกหนังสือเดินทางข้ามแดน สามารถทำได้เฉพาะจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อนเท่านั้น
เปิดตั้งแต่ 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
2.หนังสือผ่านแดนชั่วคราว Temporary Border Pass ***ใช้ได้เพียงครั้งเดียว สำหรับคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้านภายในประเทศไทยเท่านั้น***
ขั้นตอนการทำบัตร
1.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องไปถ่ายรูปที่ที่ทำการออกหนังสือเดินทางข้ามแดนก่อน)
2.สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องมีพ่อแม่พามาติดต่อเท่านั้น พร้อมแสดงหลักฐานทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของเด็กทุกครั้ง
3.รับเอกสาร พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียม ท่านละ 30 บาท
4.หนังสือผ่านแดนชั่วคราว ใช้ได้เพียงครั้งเดียว พำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ สามารถเข้าไปยังเมืองทวายได้ เสียค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 30 บาท และค่าผ่านแดนฝั่งพม่า 30 บาท
**หมายเหตุ การออกหนังสือเดินทางข้ามแดน สามารถทำได้เฉพาะจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อนเท่านั้น
เปิดตั้งแต่ 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
ขั้นตอนการเดินทางผ่านแดนไทย-เมียนมาร์
ค่าใช้จ่ายสำหรับด่านทิคี่ สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมาร์
1.หนังสือเดินทางประเทศไทย (ไม่มี visa) พำนักได้ 14 วัน มีค่าใช้จ่าย 10 $
2.Border Pass พำนักได้ 14 วัน มีค่าใช้จ่าย 30 บาท
3.Temporary Border Pass พำนักได้ 7 วัน มีค่าใช้จ่าย 30 บาท
4.หนังสือเดินทางไทย (มีวีซ่า รหัส TR) พำนักได้ 28 วัน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากโรงแรมทางเมืองทวาย ประเทศพม่า
5.หนังสือเดินทางไทย (มีวีซ่า รหัส Non-B) พำนักได้ 28 วัน โดยต้องมีหนังสือจากบริษัททัวร์
6.หนังสือเดินทางไทยนักการทูต ข้าราชการ ไม่ต้องขอวีซ่า
***ยานพาหนะไทย รถทะเบียนไทยไม่สามรถข้ามเขตพม่าได้**
เดินทางไปทวายโดยทางบก sunitjo เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ของเพื่อนที่มีภรรยาเป็นชาวพม่า ซึ่งเป็นทะเบียนของพม่า จึงผ่านฉลุย ทะลุทวายไปเลย ผ่านด่านบ้านพุน้ำร้อน เมื่อถึงด่านต้องทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว โดยยื่นบัตรประชาชนพร้อมรูปถ่าย 2 นิ้ว 1 ใบ และจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท รอสักครู่ก็จะได้หนังสือผ่านแดนชั่วคราวอายุ 7 วัน สำหรับเดินทางไปพม่าเฉพาะเมืองทวายเท่านั้น แต่หากเป็นชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือเดินทางยื่นเป็นหลักฐาน
“คนไทยที่ขอหนังสือผ่านด่านเข้าไปทวายไม่เคยหายเลย กลับบ้านครบ แต่คนพม่าที่เข้ามาในไทยแล้วหายมีจำนวนมาก” เจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจกล่าว
จากชายแดนไทย เราก็ไปยังด่านผ่านแดนในเขตพม่า ซึ่งเป็นจุดตรวจแรก ต้องเปลี่ยนรถตู้เป็นทะเบียนประเทศพม่า โดยมี “โบโบ” เด็กหนุ่มที่ทำงานในสมาคมพัฒนาทวายมารอรับ ซึ่งเชื้อสายกะเหรี่ยงของโบโบทำให้เราผ่านจุดตรวจต่างๆ ได้สะดวกขึ้นในด้านการสื่อสารและไม่เสียค่าธรรมเนียมเหยียบแผ่นดินพม่าที่ด่าน
ลึกเข้าไปในแผ่นดินพม่าก็จะเจอกับจุดตรวจย่อยๆ อีก 3-4 แห่ง โดยชายแดนบริเวณนี้อยู่ในความดูแลของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยงเคเอ็นยู (KNU: The Karen National Union) และกองกำลังย่อยเคเอ็นแอลเอ (KNLA: Karen National Liberation A
เดินทางมาไม่นานนักก็จะผ่านแคมป์ร้างของบริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งมีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยบ้านพักพนักงาน สำนักงาน และลานกว้างที่เต็มไปด้วยวัสดุก่อสร้าง รถบรรทุก และรถก่อสร้างมากมาย แต่ปัจจุบันบริษัทไม่ได้ทำงานแล้ว ไม่มีคนงานไทยแล้ว เหลือคนงานประเทศพม่าเพียงบางส่วน นอกจากนี้มีชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ในบริเวณนี้ โดยทำอาชีพค้าขาย เช่น ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า ร้านอาหาร
ร้านเสริมสวย “นิวโรส” เป็นร้านที่สะดุดตาและน่าสนใจที่สุด เนื่องจากมีป้ายโฆษณาสีสันฉูดฉาด และที่สำคัญคือ “เขียนภาษาไทย” ส่วนที่หน้าร้านนั้นจัดเป็นแผงขายหมากด้วย พ่อค้าซึ่งเป็นเจ้าของร้านเสริมสวยและร้านขายหมากคนนี้สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะเคยมาทำงานที่สมุทรสาครหลายปี และเมื่อเส้นทางทวายเปิดจึงกลับมาทำงานที่บ้าน
วิธีการจีบหมากและส่วนผสมของหมากพม่าแตกต่างกับหมากไทยหลายประการ คือ นำใบพลูไปทาด้วยปูน ซึ่งปูนของที่นี่จะเป็นสีขาวและผสมนมด้วย ต่างกับของไทยที่ใช้ปูนแดง หลังจากนั้นก็ใส่หมาก เครื่องเทศ 4-5 ชนิดซึ่งนำเข้ามาจากทางทิเบต และน้ำหวาน จากนั้นก็พับพลูเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก็เสร็จพร้อมรับประทาน
สำหรับราคาขายหมากอยู่ที่จีบละ 3 บาท ซึ่งสำหรับพ่อค้ารายนี้สามารถขายหมากได้เงินวันละ 300-400 บาทเลยทีเดียว นั่นเพราะคนในประเทศพม่านิยมกินหมากกันมากทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และบางคนกินตลอดแบบคำต่อคำ แม้แต่เด็กหนุ่มโบโบและลุงคนขับรถของเราต่างก็กินหมาก
สินค้าอื่นๆ ของที่นี่ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับของไทย ต่างกันที่ตราสินค้า ทั้งนี้สินค้าบางอย่างก็นำมาจากประเทศไทยด้วยซ้ำ
แม้จะไม่มีคนงานอยู่แล้ว แต่ร้านค้าเหล่านี้ก็ยังสามารถขายของได้ โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนใกล้ๆ ถามว่าจะขายของให้ใคร คนงานไม่มีแล้ว ด้านนักท่องเที่ยวไม่ค่อยมีมากนัก แต่ถ้าคนไทยจะมาซื้อสินค้าที่นี่ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเจ้าของร้านทุกคนสามารถพูดภาษาไทยได้!
ดินทางมาสักพักเราจึงแวะกินน้ำที่หมู่บ้านบ้านมิตตา (Myitta) บ้านเกือบทุกหลังยังคงเป็นบ้านไม้ บ้านหลังไหนที่อยู่ติดถนนก็จะประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ สินค้าเช่นน้ำดื่มหลายชนิดก็นำมาจากไทย กับข้าวที่เห็นแม้ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่วัตถุดิบที่ใช้ถ้าเป็นอาหารทะเลเช่น กุ้ง หมึก ฯลฯ จะตัวโตมาก นอกจากนี้ก็มีพวกเนื้อกวาง หมูป่า สนนราคาที่จานละ 30 บาทเท่านั้นทุกเมนู ซึ่งคงหาได้น้อยที่เมืองไทย
การเดินทางไปทวาย อัพเดทล่าสุด วันที่ 25 ตุลาคม 2557 ถนนหนทาง สะดวก สบาย เป็นถนนลูกลังอัดแน่น ไม่ค่อยมีหลุมบ่อเท่าไร ใช้ความเร็วได้พอสมควร เฉลี่ยประมาณ 70 กิโลเมตร/ชั่วโมงเลยทีเดียว จากด่านไทย ไป ทวาย ระยะทาง 150 กิโลเมตร ใช้เวลาแค่ 4 ชั่วโมง ก็ถึงเมืองทวาย แล้วครับ ยินดีต้อนรับสู่เมืองทวาย
ในแม่น้ำตะนาวศรียังมีคนกลุ่มหนึ่่งที่พึ่งพาประโยชน์จากสายน้ำด้วยการร่อนทองโดยใช้เรือ และสร้างที่พักพิงริมแม่น้ำ
ตลอดเส้นทางถนนสายนี้ เราจะเห็นร่องรอยของการเปิดเส้นทางใหม่ที่ลัดเลาะไปตามภูเขา ด้านซ้ายเป็นเหวสู่แม่น้ำ ด้านขวาเป็นหน้าผาสูงชัน ถนนส่วนใหญ่ยังเป็นดินบดอัด ถนนช่วงแรกแถบชายแดนเป็นการถากป่า และลึกเข้าไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นสวนหมากที่ถูกบุกรุกเสียหายจากการสร้างถนน ทำให้เราเห็นสวนหมากอยู่ที่ริมขอบหน้าผาติดถนนเป็นระยะๆ
และเนื่องจากการสร้างถนนทำให้ดินตกลงไปในแม่น้ำ จนทำให้แม่น้ำมีสีเหลือง-แดง ขุ่นข้นเป็นน้ำดิน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแม่น้ำตะนาวศรีได้ และทำให้แม่น้ำตื้นเขิน
นอกจากนี้ ระหว่างทางเราจะเจอคนงานก่อสร้างถนนกระจายอยู่ตามเส้นทางเป็นระยะๆ บ้างกำลังใช้ค้อนทุบหินก้อนใหญ่ๆ ให้กลายเป็นก้อนเล็กๆ บ้างกำลังโกยหินและคัดแยกหินขนาดต่างๆ ไปกองไว้รวมกันด้วยมือ บ้างกำลังเรียงหินบนถนนดินด้วยมือแล้วนำหินละเอียดหรือเล็กที่สุดมาโรยทับ บ้างก็กำลังต้มยางมะตอยในถังเหล็ก บ้างกำลังราดยางถนน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ล้วนใช้แรงสูงและต้องทำด้วยมือ เครื่องมือก่อสร้างประเภททุ่นแรงที่มีให้เห็นคือรถบดอัดถนน

คนงานก่อสร้างถนนเชื่อมไทย-พม่ากำลังทุบหินให้กลายเป็นก้อนเล็กๆ ด้วยค้อน และคัดแยกขนาดหินด้วยมือ เพื่อนำมาสร้างถนน
เดินทางราว 10 ชั่วโมง ในที่สุดเราก็มาถึงตัวเมืองทวายและเข้าพักในโรงแรมแห่งหนึ่งที่สร้างแบบสมัยใหม่ ในขณะที่ในตัวเมืองทวายส่วนใหญ่อาคารบ้านเรือนต่างๆ ยังคงเป็นศิลปะยุคอาณานิคมอยู่มาก ผู้คนที่นี่ไม่พลุกพล่านมากนักแม้เป็นช่วงค่ำ ร้านค้า ร้านอาหารก็ปิดค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่นี่ไม่ใช่เมืองแห่งแสงสี เพราะค่าไฟฟ้าที่นี่มีราคาแพงกว่าที่ไทยมาก และผูกขาดโดยเอกชนหรือปั่นไฟใช้เอง เพราะสายส่งไฟฟ้าจากส่วนกลางมาไม่ถึงทวาย