ทัวร์ทวาย ประเทศพม่า จองทัวร์ 098-0641749

Tanintharyi Divisin อยู่ติดกับรัฐมอญไปทางทิศเหนือและประเทศไทยไปทางทิศตะวันออก Tanintharyi กองตรงบริเวณที่ราบชายฝั่งแคบยาวล้อมรอบด้วยทะเลอันดามันในภาคตะวันออก ซึ่งไปยังคอว์ทอง จุดอันเป็นที่สุดของประเทศพม่าและต่อจากนั้นก็ไปยังคาบสมุทรมลายู


ชายฝั่งเป็นจุดที่มีหมู่เกาะรวมทั้งกลุ่มไฮน์เซ่ กลุ่มหม่อง-Magan และมะริดหรือกลุ่มเกาะมะริด ซึ่งประกอบด้วยมากกว่า 800 เกาะที่สวยงามและน่าสนใจ


ทวายเป็นพอร์ตที่มีความสำคัญขนาดกลางและเมืองริมทะเลเขตร้อน 384 ไมล์ทางใต้ของกรุงย่างกุ้ง ชายหาด Maungmagan อยู่ในขณะนี้ได้รับการพัฒนาและปรับเป็นเพียง 8 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงเหนือและมีชื่อเสียงสำหรับอาหารทะเลแสนอร่อย พื้นเมืองพูดภาษาพม่า แต่มีภาษาที่แข็งแกร่ง ซึ่งคล้ายกับมะริด เจดีย์บูชามากที่สุดคือชิน Motehti เจดีย์ ไม่กี่ไมล์ทางใต้ของเมืองชิน Datweh เจดีย์ในภาคเหนือและชินกระเพาะปลาเจดีย์บนแหลมทวาย 243 ฟุตพระพุทธรูปไสยาสน์ยาวตรง Lawka Tharaphu เจดีย์ ในกลุ่มศตวรรษที่ 18 ของคนที่รู้จักกันในนามทวาย Inthas หรือลูกชายของทะเลสาบ อพยพไปอินเลที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องระหว่างพม่าและคนไทย ดังนั้น Inthas ถูกปรากฏในทะเลสาปอินเลในรัฐฉานภาคใต้ เมืองหลวงของทวาย Tanintharyi ภาคใต้เป็นเขตปกครองมากที่สุดในประเทศ
Maungmagan เป็นชายหาดที่สวยงามใน Thanintharyi กอง Maungmagan เป็นหมู่บ้านริมทะเลสิบไมล์จากทวาย คนส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้มีชาวประมง ดังนั้นชาวประมงของ Maungmagan มีความคุ้นเคยกับทะเลอันงดงามอย่างมีความสุขในขณะที่การดำเนินการประมงชำนาญเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขาโดยประเพณี ทวายเป็นเมืองหลวงของกอง Taninthayi ในภูมิภาคชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศพม่า Maungmagan เป็นหมู่บ้านริมทะเลสิบไมล์จากทวาย ส่วนใหญ่ของชาวบ้านดำเนินการตกปลาในทะเลเป็นประเพณีที่อยู่อาศัย เรือมีความต้องการที่สำคัญสำหรับการตกปลาในทะเล ขนาดต่างๆของเรือประมงที่ใช้ในงานนี้ แต่ Boatmahlay เป็นประโยชน์มากที่สุดในการประมงที่สามารถจัดการได้ของครอบครัว มันเป็นเรือไม้ขนาดเล็กที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องเหล็กหรือเหล็กกล้า Boatmahlay ที่เล็กที่สุดคือ 18 ฟุตยาวซึ่งจะใช้สำหรับการตกปลาที่อยู่ในทะเล 10 ไมล์จากชายฝั่ง. 
การก่อสร้าง Boatmahlay เป็นที่ยอดเยี่ยม มันถูกสร้างขึ้นด้วยไม้กระดาน Bantbwae ไม้ที่แนบมากับแท่งไม้ขนาดเล็กลงในหลุมบนทั้งสองข้างของเรือ สองแผ่นที่ใช้สำหรับการสร้างเรือมีร่วมกันโดยการเก็บรักษาแท่งไม้ขนาดเล็กลงในหลุมที่ด้านข้างของแผ่นที่ Yaynyantha ไม้จะถูกเก็บไว้ระหว่างสองแผ่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลซึมลงไปในเรือ จากนั้นจะมีเชือกผูกรอบแผ่นเพื่อให้พวกเขาร่วมกันแน่น ทั้งหมด Botema เรือที่ถูกสร้างขึ้นในทางที่ว่าอาจจะมีความแตกต่างใน size.The ชาวประมงในหมู่บ้าน Maungmagan โหลดเรือของพวกเขาด้วยเสบียงอาหารและความต้องการอื่น ๆ สำหรับหนึ่งหรือสองวันตกปลาในทะเล. 
นี้ชาวประมงออกไปในทะเลเปิดโดยเรือขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ พวกเขามีความสุขจะกลับไปยังหมู่บ้านของพวกเขาหลังจากปริมาณที่เพียงพอจากการจับในทะเล แม่บ้านของพวกเขาจะทำให้ปลาในการขายที่ market.There หลายชนิดของปลาฉลามปลา Kettabaung Ngakunshut (ปลาทู Ngaleikkyauk และตลาดปลา maungmagan ในตอนเช้า. 
Maungmagan บีชยังมีชีวิตอยู่จึงมีชาวประมงและเรือประมงของพวกเขากลับมาหลังจากที่ตกปลาคืนที่ทะเลและการดำเนินการเตรียมการที่จะออกไปในทะเลเปิดอีกครั้งในช่วงเย็น. ดังนั้น ชาวประมงของ Maungmagan มีความคุ้นเคยกับทะเลอันงดงามอย่างมีความสุขในขณะที่การดำเนินการประมงชำนาญเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขาโดยประเพณี

ประวัติศาสตร์ของเมืองทวาย

                        เมืองทวายนั้น   บริติช  เบอร์ม่า  กาเซตเตียร์ว่า  เป็นเมืองที่ไทยมาตั้งขึ้นก่อน  เมื่อครั้งหลวงจีนยวนฉ่าง  เดินทางเรือมาถิ่นนั้น   ได้จดหมายไว้ว่า   แถบเมืองเมาะตะมะ  มาถึงเมืองทวาย  มีแว่นแคว้นเกียม้อลั่งเกีย  คือกามลังกะ  เข้าใจว่าหมายถึงเมืองทวาย  หรือเมืองรามบุรี  (เดี๋ยวนี้เรียกเมืองมวลแมน  เป็นเมืองเก่าก่อนเมืองเมาะตะมะ)   แต่เมืองรามบุรีคงจะเป็นงกษัตริย์ ภายหลังเมืองทวาย     เมืองทวายเป็นเมืองกษัตริย์มาแต่เดิม   กระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่า

                        เมื่อก่อน  พ.ศ.   ๑๘๐๖   มอญเป็นกบฎ  พระเจ้า อลังคจอสู   กษัตริย์พม่ายกกองทัพลงมาปราบมอญ  เลยตีได้เมืองทวายใน  พ.ศ.   ๑๘๐๖   แล้วอพยพเอาครัวชาวยะข่าย (อาระกัน )   เข้ามาอยู่ที่เมืองทวาย   พลเมืองทวายจึงใชภาษาเป็นภาษาพื้นเมืองขึ้นแต่บัดนั้นมา

                        เมืองทวายขึ้นอาณาจักรสุวรรณภูมิ  ทวาราวดี   แว่นแคว้นสุวรรณภูมิ   และอาณาจักรสุโขทัย   ครั้นพ่อขุนรามกำแหงมหาราชสวรรคตใน  พ.ศ.  ๑๘๖๐   แล้วพระเจ้าแสนเมืองราชบุตรเขยของพระองค์  (โอรสพระเจ้าฟ้ารั่ว)   เป็นกษัตริย์ของมอญ   ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ   ลงมาตีแย่งเอาเมืองทวาย  เมืองตะนาวศรี   ไปจากพระมหาธรรมราชาที่ ๑  (พญาเลอไทย)   เมืองทวาย  เมืองตะนาวศรี  ขึ้นมอญอยู่   ๑๓   ปี   พระยารามไตร  อนุชาพระเจ้าแสนเมืองมิ่งเป็นกษัตริย์   ทิ้งเมืองเมาะตะมะเสีย   แล้วกลับไปตั้งราชธานีขึ้นที่เมืองหงสาวดี   ไทยแคว้นใต้จึงกลับตีเอาคืนมาได้  ใน     พ.ศ.   ๑๘๗๓   เมืองทวายเป็นเมืองกษัตริย์ถวายต้นไม้ทองเงินของกรุงศรีอยุธยามาแต่แรก   แล้วเสียแก่มอญอีก  เห็นจะในราวรับกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ในเวลาที่ติดการศึกทางเมืองเหนือ  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  ๓   ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช  ครองกรุงศรีอยุธยาอยู่   ได้เสด็จออกไปตีกลับคืนเอามาได้

                        เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าหงสาวดี  (บุเรงนอง)  เมืองทวาย  ตะนาวศรี  มะริด  ก็ตกไปเป็นของพม่า  อยู่กับพม่า   ๒๔  ปี        ข้าราชการไทยที่ถูกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชปรับโทษฐานที่ตามเสด็จไม่ทันในคราวสงครามยุทธหัตถี  กลับตีคืนเอามาได้

                        ชาวเมืองทวายมีความสามารถในการต่อเรือเดินทะเล   เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะเสด็จยกกองทัพไปตีกรุงหงสาวดีตอบแทนพม่า   ก็ให้เกณฑ์ชาวเมืองทวายต่อเรือใช้ในกองทัพครั้งนั้น

                        สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคตแล้ว   พม่าบังอาจส่งพระเจ้าน้องยาเธอองค์หนึ่งให้ลงมาครองเมือง  เย  หรือ  เร  อยู่เหนือเมืองทวาย   เมืองเย  หรือ  เร  เมืองนี้   กฏหมายหมอบรัดเลพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ตรา  พ.ศ.  ๒๑๗๘  เรียกว่าเมืองสามโคก   เข้าใจว่าเป็นเมืองที่ไทยตั้งขึ้นเช่นเดียวกับเมืองทวาย   เมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของเมืองทวายอยู่ริมทะเล   ตั้งระหว่างเมืองเชียงกรานกับเมืองทวาย

                        ข้าราชการที่เมืองทวาย   จึงขึ้นไปจับเจ้าพม่าพระองค์นั้นไว้   แล้วส่งตัวเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา  พระเจ้าอังวะจึงยกกองทัพลงมาตีเมืองทวาย  ใน  พ.ศ.  ๒๑๕๖   พระยาทวายได้ต่อสู้เป็นสามารถ   จนต้องอาวุธตายในที่รบ   เมืองทวายก็เสียแก่พม่า   พระเจ้าอังวะจึงลงมาตีเมืองตะนาวศรี   แต่ถูกกองทัพล้อมสกัด   หากพม่าตีหักออกได้   พระเจ้าอังวะจึงคงมีพระชนม์ชีพรอดกลับคืนไปเมืองเมาะตะมะ   ไทยได้ชัยชนะที่เมืองตะนาวศรีแล้ว   ก็ได้เมืองทวายกลับคืนมาตามเดิม

                        ถึง   พ.ศ.   ๒๑๖๕    เป็นเวลารัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม   พม่ายกกองทัพเข้ามาตีเอาเมืองทวายไปได้อีก   ครั้งนี้ต้องไปอยู่กับพม่านาน    ต่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงตีกลับคืนมาได้ พ.ศซ.   ๒๓๐๐  นั้น   พระเจ้าอลองพญาได้ยกกองทัพมาตีเมืองหงสาวดีแตก  เป็นครั้งสุดท้าย   ทรงขัดเคืองว่ามอญมิได้มีความซื่อสัตย์   จึงให้จับมอญไม่ว่าไพร่ผู้ดี   เอาตัวไปเป็นเชลยเสียทั้งสิ้น   แล้วให้เอาไฟเผาเมืองหงสาวดีเสียด้วย   ต้อนผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองรัตนสิงค์เป็นราชธานี   จึงมีพวกมอญเมืองเมาะตะมะ   หนียุทธภัยลงมาอาศัยอยู่ที่เมืองทวาย  ประมาณ  ๑๐๐๐   เศษ   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นว่า   มอญหนีอยู่ใกล้กับพม่านัก  เกรงจะเป็นภัย   จงให้รับเข้ามาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

                        ล่วงต่อมา   ๒   ปี   พระเจ้าอลอพญาเสด็จมาฉลองพระเกตุธาตุ  (ซวยดากอง)  ที่เมืองย่างกุ้ง   ซึ่งได้ทรงสถาปนาขึ้นให้ใหญ่โตงดงามแล้ว   ก็ให้ราชโอรสยกทัพมาตีเมืองทวายของไทยได้   เมื่อพม่าเห็นการต่อสู้ของไทยครั้งนั้นอ่อนแอ   ก็เลยลงมาตีเมืองมะริด   ตะนาวศรี   ได้อีก   ๒  เมือง   แล้วเดินทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยาทางด่านสิงขร   แต่ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้

                        ต่อมาทางราชธานีพม่า   ได้เกิดการจลาจลขึ้นภายใน   หุยตองจาชาวทวาย   ขุนนางเก่าของไทยชิงเอาเมืองทวายคืนได้  ใน   พ.ศ.  ๒๓๐๕   แล้วขอเป็นข้ากรุงศรีอยุธยาดังแต่ก่อน      เมื่อพม่าปราบเหตุการณ์จลาจลภายในได้เรียบร้อยแล้ว   ก็ยกกองทัพลงมาติดเมืองทวายใน   พ.ศ.    ๒๓๐๗    ทางกรุงมิได้ส่งกองทัพออกไปช่วยเหลือ   เพราะเป็นสมัยที่ไทยอ่อนแอเสียแล้ว  หุยตองจาจึงหนีพม่าเข้ามาอยู่ที่เมืองมะริด

                        เมืองมะริด   เมืองตะนาวศรี   ที่ถูกพม่าตี  ใน  พ.ศ.   ๒๓๐๒   นั้น   พม่ามิได้เข้าปกครอง   แตยงแต่แช่งชิงเอาทรัพย์  จับผู้คนไปแล้วทิ้งตัวเมืองไว้   เมื่อพม่ากลับแล้ว    ไทยก็กลับเข้าปกครองตามเดิม

                        พม่าขอให้เจ้าเมืองมะริดส่งตัว   หุยตองจา   ไทยไม่ยอมส่งให้   พม่าจึงส่งทัพเรือลงมาตีเมืองมะริด   เมืองตะนาวศรี  ก็ตีได้โดยง่าย   พม่าได้ใจเช่นครั้งก่อน   เพราะเห็นไทยรบพุ่งอ่อนแอมาก  ก็ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา   จนแตกเป็นครั้งที่  ๒  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๑๐

                        ศึกพม่าเข้ามาตีครังนี้    เป็นเวลาที่ไทยในกรุงศรีอยุธยาเกิดความปั่นป่วนรวนเร   เพราะสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  พระราชอนุชา  ผู้เป็นกษัตริย์เข้มแข็งในการปกครองและการสงคราม   หนีออกทรงผนวชเป็นครั้งที่   ๒   เมื่อ  พ.ศ.   ๒๓๐๔     ใครจะกราบทูลเชิญให้ทรงลาผนวชออกกู้บ้านเมือง   ถึงเขียนหังสือใส่บาตร  เวลาออกบิณฑบาตร   ก็มิพักสนพระทัยเหลียวแล   ขุนนางที่ซื่อตรงต่อหน้าที่  และมีความจงรักภักดีในราชการ   ก็พากันออกบวชในครั้งนั้นเป็นอันมาก     คงอยู่แต่พวกที่เลอะเลือน   มิได้ปลงใจในราชการ   จดหมายเหตุบาดหลวงฝรั่งเศสว่า   การบ้านเมืองปรวนแปร  เพราะฝ่ายในมีอำนาจกับพระเจ้าแผ่นดิน   
สำรวจ ด่านบ้านพุน้ำร้อน-ทวายประตูเศรษฐกิจน้องใหม่ "ไทย-พม่า"

"ด่านบ้านพุน้ำร้อน" ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นด่านถาวรที่อยู่ตรงข้ามกับด่านทิกิ เมืองทวาย รัฐตะนาวศรี ประเทศพม่า สภาพของด่านศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมืองทางฝั่งไทยในปัจจุบันยังเป็นที่ทำการชั่วคราวอยู่ติดกับด่านศุลกากร เป็นจุดตรวจของหน่วยทหารพราน ปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงอยู่ในพื้นที่ควบคู่ไปด้วย

ทีมข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจความเคลื่อนไหวด้านการค้าการลงทุนในพื้นที่ด่านบ้านพุน้ำร้อนอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลประกาศให้เป็นด่านถาวรเมื่อกลางปี 2556 โดยเริ่มต้นจากตัวเมืองกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแคว ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 323 ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ผ่านแยกแก่งเสี้ยน ก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 3229 มุ่งหน้าตำบลบ้านเก่า 

สภาพถนนช่วงนี้เป็นถนนลาดยางค่อนข้างดี ขนาด 2 ช่องจราจร บางช่วงอยู่ระหว่างการขยายทางและปรับปรุงตามโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3229 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 323-แควน้อย (บ้านเก่า) เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2557 

เส้นทางดังกล่าวสามารถรองรับการเดินทางสัญจรได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยรัฐบาลไทยมีแผนที่จะสร้างโครงการถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน รองรับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย 

ส่วนบรรยากาศการค้าขายในบริเวณด่านชายแดนยังไม่คึกคักมากนัก เนื่องจากเพิ่งเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ไม่นาน ประกอบกับการขนส่งสินค้าจากไทยไปพม่ายังทำได้ลำบาก ด้วยข้อจำกัดของถนนลูกรังที่ใช้สัญจรชั่วคราวเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นทางลาดชัน

สำหรับพื้นที่บริเวณหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับสำนักงานชั่วคราวของอิตาเลียนไทย พบว่ามีประชาชนทั้งไทยและพม่าเดินทางเข้า-ออกเป็นระยะ โดยเฉพาะประชาชนพม่าได้ข้ามมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากฝั่งไทย โดยใช้รถกระบะในการบรรทุกสินค้า

ส่วนในฝั่งพม่า บริเวณที่ติดชายแดนไทยนั้น ขณะนี้ได้มีการเปิดปั๊มน้ำมันและร้านขายสินค้าที่ข้ามจากฝั่งไทย ประเภทสินค้าที่ขายดีคือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ไทยเกือบ 90% 

ทุ่มพันล.สร้างด่านใหม่เสร็จปี"62

"สิทธิชัย จึงจิรานนท์" นายด่านศุลกากรสังขละบุรี บอกว่า ขณะนี้กรมศุลกากรได้รับงบประมาณศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและออกแบบ โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรบ้านพุน้ำร้อน มูลค่า 1,110 ล้านบาท เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ อยู่ห่างจากเส้นแบ่งเขตแดนไทย-พม่า ประมาณ 350 เมตร แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาโครงการด่านศุลกากร 500 ไร่ และพื้นที่กันชน (Buffer Zone) อีก 500 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับส่วนต่อขยายในอนาคต และรองรับกิจกรรมทาง

ด้านโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นพื้นที่ป้องกันการบุกรุก ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไม่มีการใช้ประโยชน์ และยังไม่มีปัญหาบุกรุก

"ตอนนี้เราได้รับอนุมัติงบประมาณประมาณ 16-20 ล้านบาท เพื่อนำมาก่อสร้างสำนักงานศุลกากรชั่วคราว ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับด่านศุลกากรที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เราจะใช้ที่นี่เป็นสำนักงานชั่วคราวไปจนกว่างานก่อสร้างด่านศุลกากรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณมาจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2562"

กัน 8 พันไร่วางผังชุมชนชายแดน 

ขณะที่ "สรรเพชญ ศลิษฏ์อรรถกร" ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ทางจังหวัดอยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่จากกองทัพบกประมาณ 8 พันไร่ จากทั้งหมดประมาณ 1.6 หมื่นไร่ เพื่อนำมาวางผังชุมชนชายแดนบ้านพุน้ำร้อนสำหรับใช้ในส่วนสนับสนุนการเปิดด่าน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างด่านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจ คล้ายกลับเป็นศูนย์ราชการ ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบทั้งหมด คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร 

สำหรับความคืบหน้าในการศึกษาถนนมอเตอร์เวย์ตั้งแต่ช่วงจังหวัดกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ได้เลือกมาแล้ว 3 แนว แต่ละเส้นทางมีความยาวประมาณ 79-85 กิโลเมตร ประกอบด้วยแนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงการช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ผ่านพื้นที่ ต.แก่งเสี้ยน ต.ลาดหญ้า ต.สิงห์ ไปสิ้นสุดที่บ้านพุน้ำร้อน แนวเส้นทางนี้ส่วนใหญ่จะผ่านพื้นที่ทหาร 

แนวเส้นทางที่ 2 มีจุดเริ่มต้นเดียวกับแนวทางเลือกที่ 1 ทับซ้อนกันไปจนถึง ต.หนองขาว อ.เมืองกาญจนบุรี มีสภาพเป็นที่ราบเชิงเขาทอง มุ่งหน้าไปทางตะวันตกอ้อมเขาพังผ่านพื้นที่ค่ายสุรสีห์ ไปตัดแม่น้ำแควใหญ่ จากนั้นจะตัดข้ามทางหลวงหมายเลข 323 ตอนแก่งเสี้ยน-หนองบัว แนวทางวกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างเชิงเขา ก่อนจะเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 232 ไปตัดทางรถไฟสายน้ำตก ก่อนข้ามแม่น้ำแควน้อยจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่บ้านพุน้ำร้อน 

แนวเส้นทางที่ 3 มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ กม.84+600 ของแนวทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณบ้านห้วย ต.ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา ข้ามแม่น้ำแม่กลอง บริเวณบ้านใหม่ ตัดทางหลวงหมายเลข 3209 ตอนกาญจนบุรี-อ.ด่านมะขามเตี้ย เข้าสู่บ้านพุน้ำร้อนไปสู่จุดผ่านแดน ซึ่งแนวเส้นทางนี้มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี 

เอกชน-รัฐพื้นที่หนุนเส้นทางที่ 1 

"สรรเพชญ" บอกว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่บริษัทที่ปรึกษาได้เลือกแนวเส้นทางที่ 3 เป็นที่ก่อสร้างโครงการ แต่ภาคเอกชน ราชการ และประชาชนในพื้นที่เห็นว่าแนวเส้นทางที่ 1 น่าจะมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างโครงการมากกว่าแนวทางอื่น ๆ เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านสถานที่ราชการค่อนข้างเยอะ ทำให้ใช้งบฯค่าเวนคืนน้อยกว่าเส้นที่ 3 และเกิดประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยว

ขณะที่แนวเส้นทางที่ 3 อยู่ในพื้นที่ต่ำโอกาสน้ำจะท่วมมีค่อนข้างสูง เป็นพื้นที่เอกชนเกือบ 100% อาจมีปัญหาการเวนคืนที่ดิน อีกทั้งถนนที่พาดผ่านเป็นถนนทางหลวงระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ ไม่สามารถข้ามไปมาได้ ซึ่งเจ้าของที่ดินบางแห่งอาจไม่ยอม เพราะไม่มีทางเข้าออก ต่างจากถนนปกติทั่วไป ส่วนแนวเส้นทางที่ 2 คิดว่าเป็นไปได้ยาก เพราะไปทับซ้อนกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3345 

"โครงการมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-เมืองกาญจน์ ในงบฯเงินกู้ 2.2 ล้านล้าน จะได้แค่งบฯค่าเวนคืนที่ดินอย่างเดียว 4,000 กว่าล้านบาท ส่วนงบฯก่อสร้างรัฐบาลน่าจะให้เอกชนมาประมูล ส่วนช่วงเมืองกาญจน์-บ้านพุน้ำร้อน ตั้งกรอบไว้ประมาณปี 2562 ในวันนี้การพัฒนาโครงการต้องสอดคล้องกับความคืบหน้าในการลงทุนของโครงการทวายด้วย ปัจจุบันถนนจริงฝั่งพม่ายังไม่ได้สร้าง ถนนที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นถนนชั่วคราวที่อิตาเลียนไทยสร้างใช้ชั่วคราว หากการลงทุนไม่ชัดเจน คิดว่าการลงทุนที่จะขยายเข้าไปบ้านพุน้ำร้อนอาจชะลอไปด้วย" 

"สรรเพชญ" บอกด้วยว่า ความคืบหน้าของผลศึกษาแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ ขณะนี้ได้มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ แล้ว แต่ขั้นตอนการตัดสินใจจะเลือกแนวเส้นทางไหน ทางบริษัทที่ปรึกษาไม่ได้มาชี้แจงให้ภาคเอกชนในพื้นที่ได้รับทราบ ทำให้สภาอุตสาหกรรม, หอการค้า, และสมาคมการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีได้ทำหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาเข้ามาชี้แจงเหตุผลที่ให้น้ำหนักเลือกแนวเส้นทางที่ 3 เหมือนกับว่ามีธงอยู่ในใจอยู่แล้ว จึงอยากให้มีการพูดคุยชี้แจงกันให้ครบทุกภาคส่วน อย่าไปทำกันเงียบ ๆ ภาคเอกชนทั้ง 3 องค์กรและอีกหลายแห่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางและวิธีการ

อมตะฯผุดนิคมหมื่นล้านรับทวาย

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น อยู่ระหว่างการเสนอโครงการต่อรัฐบาลพม่าเพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมในฝั่งพม่า ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 3-4 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 9,000 กว่าไร่ มูลค่าลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท เพื่อรองรับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย 

คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนถึงรูปแบบการลงทุนและการพัฒนาโครงการประมาณไตรมาส 1/2557 หากโครงการดังกล่าวสามารถเดินหน้าได้ตามแผนจะทำให้การค้าชายแดนบริเวณดังกล่าวคึกคักอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งที่มีแรงงานอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น 

แห่กว้านซื้อที่ดินไร้เอกสารสิทธิ

สำหรับความเคลื่อนไหวราคาที่ดินในพื้นที่พบว่า ที่ดินที่ชาวบ้านใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินราชพัสดุที่หน่วยงานทหารใช้เพื่อความมั่นคง 

ชาวบ้านรายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านพุน้ำร้อนบอกว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีคนนอกพื้นที่เข้ามากว้านซื้อที่ดินติดถนนที่มุ่งหน้าสู่ด่านบ้านพุน้ำร้อนทั้ง 2 ฝั่งเพื่อไว้ทำการค้าขาย หรือซื้อเก็งกำไร ราคาติดถนนในขณะนี้พุ่งสูงถึงไร่ละ 6 แสนบาท-2 ล้านบาท จากเดิมราคาอยู่ที่ 2 หมื่นบาท/ไร่ขึ้นอยู่กับทำเล 

ขณะนี้ที่ดินติดถนนใหญ่มีนายทุนซื้อไปหมดแล้ว จะเหลือแต่ที่ดินที่อยู่ลึกเข้าไปและเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเท่านั้นที่พอจะหาซื้อได้ ซึ่งราคาขายต่อไร่ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือภาพรวมของเศรษฐกิจเมืองกาญจน์ที่กำลังพัฒนาไปทุก ๆ ด้าน เพื่อรองรับเมกะโปรเจ็กต์การลงทุนทั้งจากฝั่งไทยและพม่า โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในด้านคมนาคม การค้า การขนส่งสินค้า วัตถุดิบ และการท่องเที่ยว

จากนี้ไปจังหวัดกาญจนบุรีจะกลายเป็น "พื้นที่เศรษฐกิจใหม่" เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ เป็นประตูการค้าด้านตะวันตกเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้

ที่มา
http://www.prachachat.net/ 


โปรแกรมทัวร์ ด่านสิงขร - ตะนาวศรี - มะริด - ด่านสิงขร 3 วัน 2 คืน 7900 บาท

08.00 น.พบคณะที่ ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังผ่านการตรวจเอกสารผ่านแดนแล้ว นำท่านขึ้นรถตู้ท้องถิ่นกว้างขวาง นั่งสบาย นั่งรถไปตามถนนสายร่มรื่นมุ่งสู่เมืองมะริด เมืองท่าเก่าแก่แห่งตะนาวศรี ผ่านสวนหมาก สวนปาล์ม สวนยางพารา จากคาบสมุทรชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บนเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณและเส้นทางค้าขายระหว่างประเทศตะวันตกและตะวันออกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มาอย่างยาวนานนับพันปี นำท่านแวะชม ชุมชนชาวไทยพลัดถิ่น ณ หมู่บ้านสิงขร ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของบ้านเดิมในแบบไทยไว้ ตามประวัติกล่าวว่าคนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี หรือที่ทางราชการเรียกว่า ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยสยาม ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาอยู่ตั้งแต่หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) หลังการยึดครองของอังกฤษ ชาวไทยเหล่านี้จึงกลายเป็นสัญชาติพม่า สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางต่อสู่เมืองตะนาวศรี
เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร
บ่ายนำท่านชมเมืองตะนาวศรีเมืองค้าขายที่สำคัญในอดีตริมแม่น้ำตะนาวศรีหรือที่ชาวพม่าเรียกขานกันทั่วไปว่า ตะหนิ่นตาหยี่ นั่งรถชมเมืองผ่านบ้านเรือนโบราณลักษณะคล้ายกับเรือนไทยในภาคกลางแถบกาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพราะพื้นที่นี้มีความเกี่ยวเนื่องกันในประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์บรรยากาศดูไป ก็มีกลิ่นอายคล้ายเชียงคานอยู่เช่นกัน นำท่านสักการะ เสาหลักเมืองตะนาวศรี ซึ่งเชื่อกันว่าหญิงสาวที่ชื่อ พะอาวซา ได้เสียสละชีวิตเพื่อดูแลรักษาเสาหลักเมืองแห่งนี้ ก่อนเดินทางออกจากเมืองตะนาวศรี แวะชม สระน้ำกษัตริย์ราชมังขลาอายุ 700 ปี
เย็นเดินทางถึงเมืองมะริด เมืองท่าสำคัญบนทะเลอันดามันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 จากนั้นนำท่านเช็คอินที่ โรงแรม Hotel Grand Jade ซึ่งเป็นโรงแรมใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมะริด
ค่ำบริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: กั้งทอดกระเทียม) จากนั้นนำท่านเดินทางกลับโรงแรมพร้อมพักผ่อนตามอัธยาศัย


วันที่สอง วัดพระนอน - ตลาดเซจี - ฟาร์มปูนิ่ม - อู่ต่อเรือ - บ่อกุ้งมังกร - ร้านไข่มุก-โรงงานเม็ดมะม่วง หิมพานต์ - เจดีย์คู่บ้านคู่เมืองมะริด (เช้า/กลางวัน/เย็น)
07.00 น.“มิงกาลาบาเซ” สวัสดียามเช้าค่ะ บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม (บุฟเฟ่ต์) ชั้นบนสุดของโรงแรม มองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดที่สวยงาม ประทับใจ
08.00 น.นำท่านไปยัง ตลาดเซจี (ZayGyi) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะริด ให้ท่านอิสระในการเดินช็อปปิ้ง และเลือกซื้อของฝากพร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวมะริดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก
09.00 น.นำท่านเดินทางไปยัง วัดปอดอมู ตามตำนานกล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นโดยเทวดาภายหลังพระอรหันต์จำนวน 6 รูปได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้รับพระเกศาจำนวน 6 เส้นจากพระพุทธองค์เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ ณ ดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุยาวนานถึง 5,000 ปี หลังจากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระอรหันต์จำนวน 6 รูปนั้นได้เดินทางมาถึงเขตตะนาวศรีและได้ให้เทวดาองค์หนึ่งสร้างเจดีย์ปอดอมูขึ้นพร้อมประดิษฐานพระเกศาธาตุจำนวน 1 เส้นไว้ในเจดีย์แห่งนี้ ส่วนที่เหลือก็นำไปประดิษฐานไว้ยังเจดีย์อื่นๆ ทั่วเขตตะนาวศรี 

จากนั้นนำท่านสักการะ เจดีย์จำลองชเวดากองหรือเจดีย์มหาเตธิชายา (MahaTheidizaya Pagoda) ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2008 โดยจำลองมาจากองค์มหาเจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ภายในวิหารโอ่โถงกว้างใหญ่ มีภาพวาดบอกเล่าเรื่องราวการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ไว้รอบทิศ
10.00 น.ออกเดินทางสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวเมืองมะริดผ่านอุตสาหกรรมประมงอาทิ ฟาร์มเลี้ยงปูนิ่ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของเมืองมะริดปัจจุบันพม่าเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลอันดับที่ 18 ของโลก 

จากนั้นนำท่านไปชม อู่ต่อเรือ ขนาดใหญ่ของเมืองมะริดใกล้กับ สะพานจวยกู ซึ่งเป็นสะพานเหล็กที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศพม่าเป็นรองแค่สะพานข้ามแม่น้ำสาละวินที่เมืองเมาะละแหม่งเท่านั้นสะพานแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะนาวศรี การต่อเรือนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมประมงของเมืองมะริด
เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: ปูนิ่มทอดกระเทียม)
บ่ายหลังรับประทานอาหาร นำท่านเดินทางรอบเกาะ และแวะสักการะ องค์พระนอนอตูละชเวทัลเยือง บนเกาะปาเตท (Pa Htet) ใกล้กับเกาะปาถ่อง (Pa Htaw) วัดพระนอนแห่งนี้มีความยาว 144 ศอก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 ภายในองค์พระพุทธรูปแบ่งเป็นห้องๆ แสดงพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า  

จากนั้นตามด้วย บ่อกุ้งมังกร ซึ่งท่านจะได้สัมผัสกุ้งมังกรและกั้งสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน ก่อนถูกส่งไปขายที่เมืองไทยและย่างกุ้ง 

จากนั้นเดินทางต่อไปยัง ร้านไข่มุก ชื่อดังของเมืองมะริด ให้ท่านได้เลือกชมและซื้ออัญมณีแห่งสายน้ำอย่างเต็มที่ และไข่มุกที่มะริดนั้นถูกส่งไปขายถึงประเทศญี่ปุ่น 

นำท่านเดินทางต่อไปยัง โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งท่านจะได้สัมผัสวิธีการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน 

จากนั้นนำท่านชมบรรยากาศของถนนริมทะเลอันดามัน (Strand Road) ที่คึกคักไปด้วยร้านค้าและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พร้อมเดินชม ห้างสรรพสินค้า Myeik Shopping Center ซึ่งเป็นห้างสมัยใหม่ริมทะเลอันดามัน
เย็นนำท่านไปนมัสการ องค์พระเจดีย์เตนดอจี(Thein DawGyi) ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของมะริด เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาใจกลางเมืองมะริดและ ณ ที่แห่งนี้มีพระพุทธรูปศิลปะแบบไทยประดิษฐานไว้ในโบสถ์ด้วย คาดว่าน่าจะก่อสร้างในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่ากันว่าคนไทยนิยมสร้างโบสถ์ส่วนคนพม่านิยมสร้างเจดีย์ บนเจดีย์แห่งนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดได้ครบ 360 องศาเป็นภาพที่งดงามและประทับใจอย่างยิ่ง
ค่ำบริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: กุ้งมังกร) หลังรับประทานอาหารและสมควรแก่เวลา นำท่านเดินทางกลับโรงแรมและพักผ่อนตามอัธยาศัย


วันที่สาม ตลาดสด - ด่านสิงขร (เช้า/กลางวัน/-)
07.00 น.บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
08.00 น.เช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมพร้อมนำท่านชม ตลาดสดยามเช้า ของเมืองมะริด ท่านจะได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวมะริดอย่างใกล้ชิดท่ามกลางบรรยากาศอันแสนคึกคักของตลาด จากนั้นเดินทางออกจากเมืองมะริต
เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร
บ่ายเดินทางถึงด่านสิงขร นำท่านผ่านพิธีการผ่านแดนออกจากพม่า เข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง นำท่านเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพและประทับใจ

อัตราค่าบริการ

ผู้ใหญ่ ราคาท่านละ 7900 บาท

พักเดี่ยวราคาท่านละ 1,800 บาท

 

ค่าบริการนี้รวม

1. ค่ารถตู้ปรับอากาศ นำเที่ยวตลอดรายการที่ทวาย

2. ค่าโรงแรมระดับมาตรฐาน 2 คืน (พักห้องละ 2 ท่าน) กรณีพักเดี่ยว ชำระเพิ่มท่านละ 1,800 บาท

3. ค่าอาหารทุกมื้อที่ระบุในรายการ

4. ค่าดำเนินการเอกสารผ่านแดนทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า

5. ค่าน้ำดื่ม ขนม และผ้าเย็น ระหว่างการเดินทาง

6. ค่ามัคคุเทศก์ท้องถิ่น (ภาษาไทย)

7. ค่าประกันการเดินทางเป็นหมู่คณะ วงเงินประกัน 1,000,000 ตามเงื่อนไขกรมธรรม์

 

ค่าบริการนี้ไม่รวม

1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีดในโรงแรม ค่ามินิบาร์ในโรงแรม

2. ค่าอาหารและเครื่องดื่มนอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้

3. ค่าทิปไกด์และคนขับรถ


วันแรก ด่านบ้านพุน้ำร้อน – เมืองทวาย – ไหว้พระชมเมือง โปรแกรม 3 วัน 2 คืน 8900 บาท
08.00 น.พบคณะที่ ด่านบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี หลังจากตรวจเอกสารผ่านแดนแล้ว นำท่านขึ้นรถตู้ Commuter V.I.P กว้างขวาง นั่งสบาย เดินทางสู่เมืองทวาย เมืองหลวงแห่งเขตตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งในอนาคต นั่งรถเลาะเลียบไปตามแม่น้ำตะนาวศรี หรือ “ตะนิ้นตะยี” ในภาษาพม่า ซึ่งมีสายแร่ทองคำ และจะเห็นชาวบ้านร่อนทองกันอยู่ในน้ำ ขับผ่านไซต์งานของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ที่กำลังก่อสร้างถนนจากท่าเรือทวายถึงชายแดนไทย ซึ่งถนนสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจสายใหม่ในอนาคต สัมผัสธรรมชาติสวยงามตลอดสองข้างทาง สู่ประตูเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก ณ ทวายหรือทะแว (Dawei)
เที่ยงบริการอาหารเที่ยง ณ ห้องอาหาร
บ่ายถึงเมืองทวายเมืองเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคสมัยทวารวดี นอกจากเป็นเมืองท่าใหญ่แล้วยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญอีกหนึ่งเมืองในสมัยโบราณ ท่านจะได้สัมผัสกับอดีตของเมืองไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นถนนต้นตาลที่ทำให้นึกถึงภาพจังหวัดเพชรบุรีในอดีต, ตัวเมืองทวายที่ชวนให้นึกถึงเชียงใหม่ในวันวานภาพเหล่านี้กำลังเลือนหายไปตามวันและเวลาและอีกไม่นานก็คงเหลือเพียงแค่ความทรงจำเก็บอยู่ในส่วนลึกของหัวใจเราเท่านั้น 

ก่อนเข้าสู่เมืองทวาย แวะชม อนุสาวรีย์นายพลอูอ่องซาน หรือ อนุสาวรีย์กองทัพเอกราช ระหว่างทางเราจะเห็นอาคารบ้านเรือนและอาคารสำนักงานที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
15.00 น.นำท่านไปสักการะ วัดพระเจดีย์ชินโมทิพญา ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทำจากปูนผสมกับชิ้นส่วนของไม้ศรีมหาโพธิ์ ต้นที่พระองค์ทรงประทับบำเพ็ญเพียรอยู่จนตรัสรู้ กล่าวกันว่ามี 4 องค์ มีผู้นำมาประดิษฐานบนแพลอยมาจากลังกา องค์หนึ่งลอยมาที่เมืองพะสิม(Pathein) องค์หนึ่งมาที่เมืองไจก์คามิ องค์หนึ่งมาที่เมืองไจท์โท(Kyaikto) ส่วนอีกองค์หนึ่งลอยน้ำมาถึงเมืองทวายและแม่ชีสูงอายุผู้หนึ่งได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ และถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งในเมืองทวาย 

จากนั้นนำท่านไปกราบไหว้ขอพรที่ วัดพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในทวาย ณ วัดชเวธาลยัง ดอมู(Shwethalyaung Daw Mu) อยู่ห่างจากตัวเมืองทวายประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระนอน โลกะ ตระภู มีความยาว 74 เมตร สูง 21 เมตร นับว่าเป็นองค์พระนอนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า นำท่านกราบไหว้ขอพรพระทันใจหรือที่คนพม่าเรียกว่า ‘นัตโบโบจี’ ซึ่งชาวพม่าและชาวมอญเชื่อว่าอธิษฐานขอสิ่งใดแล้วจะสมปรารถนาทันใจ 

จากนั้นนำท่านชมและสักการะ เจดีย์ซิงกาลอน (Shin Za Lun) บนพื้นที่เมืองโบราณนามสาครหรือธาการ่า (Thagara) เจดีย์แห่งนี้บรรจุพระเกศาธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญ บนลานรอบเจดีย์มีรูปประติมากรรมหลายรูปที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานการสร้างเมือง เช่น รูป ฤาษีโควินนันทะ รูปเทพนัตงาโกมะ รวมทั้งชิ้นส่วนโบราณสถานที่เป็นศิลาแลงหลายชิ้น จากนั้นนำท่านกลับเข้าสู่เมืองทวาย
17.00 น.นำท่านเช็คอินที่โรงแรม Golden Guest Hotel ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองทวายหรือเทียบเท่า ก่อนนำท่านไปสักการะวัดพระเจดีย์ ชเว ด่อง จา(Shwe Taung Sar Zedi) ซึ่งเป็นวัดเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองทวาย ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปโลกะมารชินปางมารวิชัย อายุ 141 ปี ในช่วงปีพ.ศ. 2417 ตรงกับสมัยสงครามอังกฤษ – พม่า ครั้งแรก และเมืองทวายยังเป็นเขตปกครองของอังกฤษ มีกลุ่มผู้เผยแผ่ศาสนาชาวทวายเดินทางไปเมืองมัณฑะเลย์เพื่อขอพระราชทานพระพุทธรูปจากพระเจ้ามินดงเพื่อ นำมาประดิษฐานที่เมืองทวาย พระเจ้ามินดงจึงพระราชทานพระพุทธรูปทองเหลืองเก่าแก่องค์นี้ให้วัดนี้ก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2304 มีอายุมากกว่า 250 ปี องค์พระเจดีย์เป็นแบบมอญสีทองยอดพระเจดีย์มีฉัตรประดับภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ ภายในวัดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์พะยาจี ซึ่งได้รวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้มากมาย
19.00 น.บริการอาหารมื้อค่ำ ณ ห้องอาหาร จากนั้นนำท่านกลับเข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย


วันที่สอง เจดีย์กะเลอ่องซานดอเซน (ตั้งอยู่บนยอดเขากะเลอ่อง - วิวทิวทัศน์สวยงาม) - หาดนาปูแล (โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย) - จุดชมวิวมะเหย่งจี (แหลมพรหมเทพทวาย) - หาดมอมะกัน - บ่อกุ้งมังกรใหญ่สุดในทวาย
07.00 น.“มิงกาลาบาเซ” สวัสดียามเช้าค่ะ รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
08.00 น.นำท่านเดินทางไปยัง เจดีย์กะเลอ่องซานดอว์เซน (San Daw Shin) ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 เจดีย์ที่เรียกว่า ‘ชินโกชิน’ ตั้งอยู่บนยอดเขากะเลอ่องอันมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมองเห็นแม่น้ำทวายไหลเป็นทางยาวอยู่ด่านล่าง และสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ องค์ละ 3 เส้น ได้แก่พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระโคตม รถวิ่งไปตามถนนสาย 8 ผ่านท้องทุ่งและหมู่บ้านชุมชนอันแสนประทับใจ จากนั้นนำท่านเดินทางกลับสู่เมืองทวาย
เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ริมหาดมอมะกัน (เมนูพิเศษ กุ้งมังกร ท่านละ 1 ตัว) จากนั้นให้ท่านได้พักผ่อนตามอัธยาศัยริมหาดมอมะกันซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหัวหินและชะอำเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว 

พร้อมชม บ่อกุ้งมังกร (Lobster Farm) ซึ่งเป็นบ่อกุ้งมังกรที่ใหญ่ที่สุดในเมืองทวาย กุ้งมังกรที่บ่อแห่งนี้เป็นกุ้งมังกรสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน ที่เจ้าของบ่อนำมาพักไว้ก่อนส่งไปขายต่อที่ย่างกุ้ง...
บ่ายเดินทางออกสำรวจเส้นทางชายหาดของเมืองทวาย สัมผัสความงามแห่งธรรมชาติ ที่กำลังจะเปลี่ยนไปบนพื้นที่โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย สถานที่งดงามไปด้วยหาดทรายขาวและน้ำทะเลใส ขับรถเลาะเลียบไปตามชายหาดนาปูแล ภาพทะเลผืนงามและความเงียบสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ 

นำท่านชมวิวทะเลอันดามัน 360 องศา ณ จุดชมวิว มะเหย่งจี (Mayingyi Dawei Point) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแหลมพรหมเทพที่จังหวัดภูเก็ตจนถูกเรียกขานว่า ‘แหลมพรหมเทพแห่งเมืองทวาย’
เย็นนำท่านเข้าพักที่ โรงแรม Maugmagan Beach Resort ริมชายหาดมอมะกัน พักผ่อนตามอัธยาศัยและชมพระอาทิตย์ลาลับฟ้าอันแสนประทับใจ
ค่ำบริการอาหารมื้อค่ำ ณ ห้องอาหารอิ่มอร่อยและเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศยามค่ำคืน ภายใต้แสงจันทร์และท้องทะเลอันดามัน ณ ฝั่งประเทศเมียนม่าร์พักผ่อนตามอัธยาศัย ณ ชายหาดมอมะกัน


วันที่สาม ตลาดสะพานปลา – ตลาดร้อยปี – โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ – ร้านขายของฝากชื่อดังเมืองทวาย – ด่านบ้านพุน้ำร้อน
05.00 น.ออกสำรวจ ตลาดปลาริมทะเล ณ หมู่บ้าน Thinbawseit (ติ่นโบซิก) ซึ่งเป็นตลาดปลาซื้อขายแบบโบราณ ชาวประมงจะนำปลาที่จับได้มาวางขายบนพื้นทรายและต่อรองราคากันอย่างสนุกสนาน
07.00 น.รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม
08.00 น.เช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมเพื่อนำท่านไปชมและสัมผัส ชม ตลาดร้อยปี หรือ ตลาดเซจี ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคมอังกฤษ ให้ทุกท่านอิสระในการเดินช็อปปิ้ง พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวทวาย และบรรยากาศของตลาดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก ภาพวิถีชีวิตเหล่านี้คงจะหมดไปในอีกไม่นานเพราะการพัฒนาที่มาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกสมัยใหม่ 

สมควรแก่เวลา นำท่านไปชม โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ใจกลางเมืองทวาย ท่านจะได้เห็นขั้นตอนการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างละเอียดพร้อมเลือกซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับไปให้คนในครอบครัว เพื่อนที่ทำงาน และคนที่รู้จัก เม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเมืองทวายไปยังประเทศจีน อินเดีย และไทย จากนั้นนำท่านแวะซื้อของฝากที่ร้านขายของฝากขึ้นชื่อของเมืองทวายก่อนเดินทางกลับสู่ด่านบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี
เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร
บ่ายเดินทางถึงด่านบ้านพุน้ำร้อน นำท่านผ่านพิธีการผ่านแดนออกจากพม่า เข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง นำท่านเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพและประทับใจ

เที่ยวเขตตะนาวศรี - พม่า - ด่านบ้านพุน้ำร้อน - หาดมอมะกัน - วัดเจดีย์กะเลอ่องซานดอว์เซน - หาดนาปูแล (โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ) - ไหว้พระชมเมือง - ตลาดร้อยปี - โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ - บ่อกุ้งมังกร - ตลาดสะพานปลา - เสิร์ฟกุ้งมังกร ท่านละ 1 ตัว


รถตู้ปรับอากาศ V.I.Pสะอาด ปลอดภัย พนักงานอัธยาศัยดี
อาหารอาหารไทยรสชาติคนไทย อาหารพื้นเมือง และอาหารทะเลสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน 
เมนูพิเศษ: 1.กุ้งมังกร (Grilled Lobster)
โรงแรมคืนที่ 1: พักที่โรงแรม Golden Guest Hotel หรือเทียบเท่า 
คืนที่ 2: พักที่โรงแรม Maungmagan Beach Resort อยู่ติดหาดมอมะกัน ให้ท่านได้สัมผัสบรรยากาศริมทะเลฝั่งอันดามันอย่างใกล้ชิด
ประกันภัยวงเงินประกัน 1,000,000 บาท (เงือนไขตามกรมธรรม์)
Visitors: 4,391,833