จองทัวร์ มะริด ทวาย 3 วัน 2 คืน กับทัวร์เจ้าแรก Land Myeik แบบมืออาชีพ 098-0641749
ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้บันทึกชื่อของเมืองทวายและตะนาวศรีว่าเป็นเมืองในอาณาจักรสยาม ตามปรากฏในพงศาวดาร
ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา เอกสารประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุว่า ตะนาวศรีเป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนสยาม ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสยามสมัยอยุธยาระบุว่า มะริดและตะนาวศรีเป็นสมบัติของกษัตริย์สยามสยามสมัยพระนารายณ์มหาราชมีอาณาเขตแผ่ถึงปัตตานี ลาว ภูเขียว เขมร อังวะ พะโค และมะละกา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริด และภูเก็ต และมีจังหวัดสำคัญคือ พิษณุโลก ตะนาวศรี กรุงเทพฯ และเพชรบุรี เอกสารบางชิ้นระบุการดำรงอยู่ของชาวสยามในมณฑลตะนาวศรี อาทิคณะราชทูตจากเปอร์เซียที่กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2228 "ตะนาวศรีเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์มีพลเมืองที่เป็นคนสยามประมาณ 5-6 พันครัว
ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองมะริด และตะนาวศรี ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริด ตะนาวศรี กันบ่อยครั้ง
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง เช่นในปีพ.ศ. 1883 ที่พระยาเลอไทย ราชโอรสของพระเจ้ารามคำแหงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน หัวเมืองมอญได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับไทย และได้มาตีเอาเมืองทะวายและตะนาวศรีจากไทยไปได้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เคยได้ให้ทัศนะว่า เมืองตะนาวศรี และเมืองทวายเป็นเมืองขึ้นของไยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย พม่าชิงเอาไปสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยา เมืองทวายมีไพร่บ้านพลเมืองเป็นทวาย เมืองตะนาวศรีมีไพร่บ้านพลเมืองมีทั้งพวกเม็งหรือมอญและไทยปะปนกัน ผู้คนเมืองมะริดมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
หรือในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรีของไทยไปได้ด้วย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2334 เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาสวามิภักดิ์ขอขึ้นกับไทย
ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปักปันเขตแดนไทย-พม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม
เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา
ในอนุสัญญา ได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “..ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น...”
สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย
กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
เซอร์เจมส์ สก๊อตต์ ระบุว่า ประชากรสยามในมณฑลตะนาวศรีภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมีประมาณ 19,631 คน คนสยามอาศัยอยู่ในอำเภอทวาย อัมเฮิสต์ และมะริด กลุ่มคนสยามอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีในช่วงั้นตะนาวศรีมีฐานะเป็นมณฑล ประชากรปี พ.ศ. 2444 มีประมาณ 1,159,558 คน ประกอบด้วยคนพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฉาน จีน และสยาม คนสยามอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของพม่า โดยเฉพาะอำเภอมะริด อัมเฮิสต์ และทวาย มะริดอยู่ใต้สุดของพม่า ในปี พ.ศ. 2444 มะริดมีประชากรประมาณ 88,744 คน ในจำนวนนี้มีคนสยามอาศัยอยู่ในตัวเมืองมะริดประมาณ 9,000 คน มะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin)และมะลิวัลย์ (Maliwun) ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยามเมืองสะเทิมอยู่ติดทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรมอญเดิม ปี พ.ศ. 2444 มีประชากร 343,510 คน ในจำนวนนี้มีชาวสยามประมาณ 10,000 คน
ในหนังสือ Imperial Gazetteer of India ระบุว่าชาวสยามกระจายเป็นคนส่วนน้อยในอำเภออื่นของมณฑลตะนาวศรี เช่นอัมเฮิสต์ และทวาย ในอัมเฮิสต์ (ปัจจุบันคือเมืองไจก์กามี) สยามตั้งอาณานิคมขนาดเล็กของตน ทวายปี พ.ศ. 2444 มีประชากรประมาณ 109,979 คน และเพียง 200 คนเท่านั้นที่แสดงตนเป็นคนสยาม
แม้ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นพื้นที่ของประเทศพม่าไปแล้วแต่ชาวไทยในเขตตะนาวศรียังมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับคนไทย และรัฐบาลพม่าก็มิได้มีการเข้ามาแทรกแซงในวิถีชีวิตของไทยในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งมีการสู้รบกันในประเทศพม่า ทำให้ชาวไทยพลัดถิ่นในตะนาวศรีอพยพกลับมาในฝั่งไทย และได้ร้องขอสัญชาติไทยจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยได้ออกบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นให้ถือระหว่างที่รอขอสถานะการเป็นคนไทย อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยพลัดถิ่นจำนวนไม่น้อยที่ตกสำรวจทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นดังกล่าว วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 นายประเสริฐ อินทรจักร คนไทยพลัดถิ่นได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จับกุม และตั้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ศาลจังหวัดระนองได้มีคำพิพากษาว่าคนไทยพลัดถิ่นถือว่าเป็นคนเชื้อชาติไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย สามารถได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ ซึ่งศาลได้มองว่าคนเชื้อชาติไทยย่อมจะมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย แม้ในช่วงที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย
เมืองมะริด เป็นเมืองเก่าตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพม่าบนชายฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ในแคว้นตะนาวศรี
อันประกอบด้วย เมืองมะริด เมืองทวาย และเมืองบุเรงนองพอยต์ หรือเกาะสอง มีเมืองทวายเป็นเมืองหลวง
ของแคว้น เมืองมะริดเป็นเมืองท่าส าคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นจุดศูนย์กลางที่ส าคัญในการซื้อขาย
แลกเปลี่ยนสินค้าจากอินเดีย และยุโรป สู่อุษาคเนย์ และเมืองทางทะเลจีนใต้เมืองต่างๆ ทางฝั่งทะเลจีนใต้
ตั้งแต่ก่อนยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตเมืองมะริดเคยเป็นส่วนหนึ่งของไทยมาหลายยุคหลายสมัย
ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในปี พ.ศ. 2366 ยุคที่อังกฤษออกล่าอาณานิคม อังกฤษได้เข้ายึดครองเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า
รวมทั้งเมืองต่างๆ ในแคว้นตะนาวศรี ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนกระทั่งถึง
ปี พ.ศ. 2411 อังกฤษและไทยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างพม่ากับไทย จึงทำให้
เมืองมะริด เมืองทวาย และเกาะสอง ต้องตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษอย่างเป็นทางการตรงกับในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่าพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มา
ซึ่งเอกราชจากการยึดครองของฝ่ายอังกฤษ จึงได้มีการจัดตั้งกองทัพอิสระขึ้น และได้ส่งทหารจ านวน 33 นาย
ไปฝึกที่ญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ “Thirty Comrade” ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนายพล อู ออง ซาน ซึ่งเป็นบิดาของนาง อองซาน ซู
จี ร่วมอยู่ด้วย ในที่สุดก็สามารถชนะกองกำลังฝ่ายอังกฤษ ทำให้อังกฤษยอมคืนเอกราชให้แก่พม่า
ในปี พ.ศ. 2491 รวมระยะเวลาที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษทั้งสิ้น 125 ปี
ปัจจุบันเมืองมะริดเป็นเมืองส าคัญทางด้านเศรษฐกิจเมืองหนึ่งของแคว้นตะนาวศรี เป็นแหล่งผลิตไข่มุก
(South Sea Pearl) ที่มีราคาแพงและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก นอกจากนั้นยังมีการส่งออกรังนก
คุณภาพดี และมีฟาร์มปูนิ่มขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก มีนักลงทุนทั้งจากไทย และชาวต่างชาติต่างเข้ามาทำ
ธุรกิจต่างๆ มากมายในเมืองมะริด การเดินทางจากประเทศไทยไปยังเมืองมะริดสามารถไปได้หลายเส้นทาง
ทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ และทางเครื่องบิน ทางรถยนต์ที่ใกล้และสะดวกที่สุดคือ ผ่านทางจุดผ่อนปรนพิเศษ
ด่านสิงขร จ. ประจวบคีรีขันธ์ สภาพถนนได้มีการปรับปรุงให้สามารถใช้เดินทางได้อย่างสะดวกสบาย
มีทัศนียภาพที่น่าสนใจตลอดเส้นทาง
ที่พักระดับมาตรฐาน ในตัวเมืองมะริด 2 คืน
“Beik” as the locals call their home inhabitants around 300.000 people. It has been a significant port town for centuries. First were people from India to trade with Myeik. Portuguese traders followed later in the 16th century. The town itself was for centuries under the rule of the Kingdom of Siam (Thailand). The Burmese King Alaungpaya reconquered Myeik in the late 18th century. It has been under British rule from 1826 to 1948.
Despite having no beaches Myeik is not lacking with charm. The Thein Daw Gyi Pagoda right in the middle of town offers a splendid panoramic view over the town and the islands. Walking along the streets and can be like on a farm as many goats, chicken, even cows, dogs and cats roaming around. The main attraction however will be you. Myeik has been cut off from the rest of Myanmar for very long time. Overland travel, which is now possible for tourist was prohibited and only possible with special permit.
The city is prime for tourist development. It sits on the shore of the sea compare to Dawei, which is inland. Access to many islands is also possible. Ask immigration staff at the main pier for help in terms of getting a fisherman to get you somewhere to the near islands. The closer islands nearby Myeik have no great beaches as mud and sentiments from the rivers been spilled ashore. However the mangroves are great for bird watching.
The government is trying to put Infrastructure in place on Kadan Island together with a big investor. This development is in great need as the best beaches and dives spots of Archipelago are far away from Myeik. Special licensed boats and permits are needed to go for multiple day excursions.
Get in
By bus
The road to Dawei is now open for foreigners. The bus costs about MYK8,000 and it takes 10 hours for the 200km.
There is also a local bus between Myeik and Kawthoung. Travel agencies charge foreigners MYK20,000 and the whole trip takes about 24 hours without delays. Expect an extremely uncomfortable ride in an old, small, heavily packed bus with 40 seats and 90 passengers. The "road" between Myeik and Kawthoung is actually a long and bumpy dirt track. Especially during the rainy season it is likely that the vehicle gets stuck in the mud. Engine problems and collapsed bridges can cause further delays.
By plane
Myanma Airways has daily flights, and Air Bagan has 3 flights per week, from Yangon. Myanma Airways flights (typically once a week) from Mawlamyine and Kawthoung may also be available - check locally at the local Myanma Airways office.
Air KBZ has daily flights during the tourist high season (beginning October to end of April) which fly from Yangon to Kawthoung (and return) stopping in Dawei and Myeik. Prices for the Myeik to Kawthoung leg start at around USD50.
Flights may be cancelled with little or no advance notice, due to lack of bookings, the weather, or any number of other unpredictable circumstances.
By boat
Fast ferries run daily to/from Kawthoung (c. 6 hours, USD25-45 for foreigners) and most days to/from Dawei to the north (c. 4 hours, USD20-25 for foreigners). Ferries to Kawthoung depart around 07:30 while ferries to Dawei depart around 10:30 or so.
Five Star Line passenger ships may call here (approximately fortnightly) en route from Kawthoung to Yangon and/or vice-versa. Five Star Line have an office opposite the main piers. Foreigners must pay very high prices (c. USD100+) but the first-class 2-berth cabins are quite comfortable.
Get around
On foot, or by motorcycle-taxi or cycle rickshaw.
Longtail boats operate as ferries across the harbour.
Big reclining Buddha (on the island across the harbour).
Lobster farming.
Loading of the fishing boats in the harbour.
Please dress modestly (cover shoulders, knees etc) especially in temples and pagodas.
Kala and Kadan Islands. Immirgration are starting to permit day trips to kala and Kadan Islands on a case by case, arrive at the jetty and ask politely.
Ask a fisherman to take you to an island for the day. It is not prohibited for foreigners and no special permit is required (as is sometimes written on the internet). The trip will bring you to the nearby islands, which still in the murky mangrove waters of Myeik. Great white sandy beaches you won't find close to Myeik. This day trip shows the beauty of the mangroves and the life of the fishermen. Please dress with commonsense.
Life Seeing Tours - Southern Myanmar is the first proper travel agency in Myeik, which is doing trips to the Mergui Archipelago ranging from one to several days. They are not a live aboard company. Overnight trips will be home stays to benefit the small fishing communities and camping on secluded beaches. Their prices of the boat is shared among the people on the boat max 6 pax. They are a way cheaper then the life aboard cruises from Kawthaung. There office is located in the lobby of Hotel Grand Jade (28-30 Baho Street) about 5-10 min walk from the main jetty near the main market and the clock tower.














































- ความคิดเห็น
- Facebook Comments
-
-
จองที่พัก เมืองมะริด ราคาถูก Mya See Sein Hotel Strand Road, มะริด, มะริด, พม่าMya See Sein HotelStrand Road, มะริด, มะริด, พม่าMya See Sein Hotel ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2014 ซึ...
-
-
-
-
-
-
-
-
Myeik MyanmarMergui was the name given by the British to the southernmost part of Burma. The Mergui ...
-
-